ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

การทดลองการศึกษาความสำคัญของคลอโรฟีลล์

กิจกรรม การศึกษาความสำคัญของคลอโรฟีลล์
Lab วิทยาศาสตร์กายภาพ   โรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคม   อำเภอบ้านม่วง    สพม. 23

จุดประสงค์ของกิจกรรม
1.             เพื่อทำการทดลองว่าคลอโรฟีลล์มีความสำคัญต่อกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช
2.             เพื่อศึกษาความสำคัญของคลอโรฟีลล์มีความสำคัญต่อกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช

วิธีทำกิจกรรม
1.             เด็ดใบชบาด่างที่ถูกแสงประมาณ  3 ชั่วโมง แล้ววาดรูปแสดงส่วนที่เป็นสีเขียวและสีขาว
2.             นำใบชบาด่างไปต้มในน้ำเดือด  1 นาที ในบีกเกอร์ที่มีน้ำ 40  ลูกบาศก์เซนติเมตร
3.             คีบใบชบาด่างจากบีกเกอร์ใส่หลอดทดลองขนาดใหญ่ ที่มี แอลกอฮอล์ 15  ลูกบาศก์เซนติเมตร
 แล้วจุ่มในน้ำเดือดอีก  2 นาที
4.             คีบใบชบาด่างจากหลอดทดลองจุ่มในบีกเกอร์ที่มีน้ำเย็น
5.             คีบใบชบาด่างใส่ถ้วยกระเบื้อง แล้วหยดสารละลายไอโอดีน 2- 3 หยดทิ้งไว้  ครึ่งนาทีสังเกต
และบันทึกผล
6.             คีบใบชบาด่างมาล้างน้ำ แล้วสังเกตผล
7.              นำสารละลายไอโอดีนมาทดสอบกับน้ำแป้งสุก  2 หยด สังเกตและบันทึกผล

ลักษณะของใบพืช
การเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้จากการทดลอง
ก่อนการทดลอง
เมื่อสกัดคลอโรฟีลล์แล้ว
หลังการทดลอง
มีสีขาวและสีเขียวอยู่ในใบเดียวกัน



สีเขียวที่ใบหายไป
เมื่อทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีนปรากกว่าบริเวณที่เคยมีเขียวมาก่อนทำให้
ไอโอดีนเปลี่ยนสีจากสีน้ำตาลเป็นสีน้ำเงินอมม่วง
1.             ใบชบาด่างที่สกัดคลอโรฟีลล์แล้วจะมีสี.ขาว
2.             ใบชบาด่างจากข้อ 1
เมื่อทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีนบริเวณที่เคยมีสีเขียวพบว่าไอโอดีนเปลี่ยนสีจากสีน้ำตาลเป็นสีน้ำเงินอมม่วง
3.             น้ำแป้งเมื่อทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีนพบว่าไอโอดีนเปลี่ยนสีจากสีน้ำตาลเป็นสีน้ำเงินอมม่วง






















 
 
จากการทำกิจกรรมการศึกษาความสำคัญของคลอโรฟีลล์นั้น   คลอโรฟีลล์นอกจากจะเป็นปัจจัยสำคัญของการสังเคราะห์แสงของพืชแล้ว   ยังมีความมีความสำคัญต่อมนุษย์ในด้านสุขภาพ เราสามารถนำคลอโรฟีลล์มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ทั้งอุปโภค และบริโภคได้  เช่นทำเป็นแชมพูสระผม  หรือนำมาทำเป็นคลอโรฟีลล์สกัด 100% เป็นผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่าอาหารแสริมก็ได้ ส่วนคนสมัยโบราณนิยมทานเป็นยา เช่น ต้มแล้วดื่มรักษาอาการปวดท้อง  ท้องอืด  หรือสมัยนี้นิยมนำมาทำอาหารก็ได้
จากภูมิปัญญาชาวบ้าน เราจึงได้ต่อยอดโดยแปรรูปใบย่านางมาทำเป็นน้ำสมุนไพรดื่ม ซึ่งสามารถบำบัดโรคต่าง ๆ ได้หลายโรค เช่น  โรคมะเร็ง  โรคตับ  โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ

ข้อมูลจากหนังสือ " ย่านาง สมุนไพลมหัศจรรย์ " โดย   ใจพชร มีทรัพย์ ( หมอเขียว ) นักวิชาการสาธารณสุข
สมการการสังเคราะห์แสงของพืช
คลอโรฟิลล์ (อังกฤษ: Chlorophyll) เป็นสารประกอบที่พบได้ในส่วนที่มีสีเขียวของพืช โดยพบมากที่ใบ นอกจากนี้ยังพบได้ที่ลำต้น ดอก ผลและรากที่มีสีเขียว และยังพบได้ในสาหร่ายทุกชนิด นอกจากนี้ยังพบได้ในแบคทีเรียบางชนิด คลอโรฟิลล์ทำหน้าที่เป็นโมเลกุลรับพลังงานจากแสง และนำพลังงานดังกล่าวไปใช้ในการสร้างพลังงานเคมีโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เพื่อสร้างสารอินทรีย์ เช่น น้ำตาล และนำไปใช้เพื่อการดำรงชีวิต [1] คลอโรฟิลล์ อยู่ในโครงสร้างที่เรียกว่า เยื่อหุ้มไทลาคอยล์ (Thylakoid membrane) ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มที่อยู่ภายใน คลอโรพลาสต์ (Chloroplast) [2]


ตัวอย่าง LAB

กิจกรรม การศึกษาสมบัติของสาร
Lab วิทยาศาสตร์กายภาพ   โรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคม   อำเภอบ้านม่วง    สพม. 23

จุดประสงค์ของกิจกรรม
เพื่อศึกษาสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางเคมีของสาร

วิธีทำกิจกรรม
1.             นำหลอดทดลองขนาดเล็กมา 5 หลอดบรรจุสารชนิดละ  1 ช้อนเบอร์ 1 ( เกลือแกง  น้ำตาลทราย หินปูน  น้ำมันพืช  เอทานอล )  สังเกตลักษณะของเนื้อสาร บันทึกผล
2.             เติมน้ำลงในหลอดทดลองทุกหลอด  จำนวน  1 ลูกบาศก์เซนติเมตร เขย่า  สังเกตและบันทึกผล
3.             เติมกรดน้ำส้ม 5 %  จำนวน 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร ในหลอดทดลองทั้ง  5 หลอด สังเกตและบันทึกผล
4.             นำของเหลวจากหลอดทดลอง ทั้ง 5 หลอด มาใส่ในจานหลุมโลหะแล้วนำไปให้ความร้อนด้วยตะเกียงแอลกอฮอล์  1 นาที สังเกตและบันทึกผล ( ทำทีละชนิด )

ตารางบันทึกผลการทำกิจกรรม
สาร
ลักษณะที่สังเกตได้
การเปลี่ยนแปลงเมื่อ
เติมน้ำ
เติมกรดน้ำส้ม
ให้ความร้อน
เกลือแกง
ของแข็งสีขาวขุ่น
ละลาย
ละลาย
ไม่หลอมเหลวและไม่ติดไฟ
น้ำตาล
ของแข็งสีขาวใส
ละลาย
ละลาย
หลอมเหลวและติดไฟ
หินปูน
ของแข็งสีขาวขุ่น
ไม่ละลาย
เกิดฟองแก๊ส
ไม่หลอมเหลวและไม่ติดไฟ
น้ำมันพืช
ของเหลวสีเหลือง
ไม่ละลายแต่แยกอยู่ชั้นบน
แยกเป็น 2 ชั้นและอยู่ชั้นบน
ติดไฟ
เอทานอล
ของเหลวไม่มีสี
ละลาย
ไม่เปลี่ยนแปลง
ติดไฟ


สรุปผลการทำกิจกรรม
                จากกิจกรรม สมบัติทางกายภาพของสารได้แก่ สมบัติที่สังเกตได้จากลักษณะภายนอก  ได้แก่  สถานะ  สี  ความสามารถในการละลายน้ำ จุดหลอมเหลว  จุดเดือด  เป็นต้น ส่วนสมบัติทางเคมีของสารได้แก่  การทำปฏิกิริยากับกรดน้ำส้ม  การติดไฟ
สารแต่ละชนิดนิจึงมีสมบัติทางกายภาพ หรือสมบัติทางเคมีบางประการคล้ายกัน  แต่จะมีสมบัติเฉพาะตัวบางประการที่แตกต่างจากสารอื่น ซึ่งสามารถตรวจสอบได้

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคม  เตรียมความพร้อมรับการประเมินภายนอก ( รอบสาม )

                กำหนดการวันประเมิน วันที่  4 - 6 กรกฏาคม 2555

                1. มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน               2.  มาตรฐานด้านการจัดการศึกษา

3.มาตรฐานด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้                     4. มาตรฐานด้านอัตลักษณ์ของสถานศึกษา

5.มาตรฐานด้านมาตรการส่งเสริม