ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต

ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต(Diversity)
1. การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต
การศึกษาเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต เรียกว่า อนุกรมวิธาน (Taxonomy) ประกอบด้วย

1.1 การจัดจำแนกออกเป็นหมวดหมู่ (Classification) เป็นการรวบรวมสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมือนกันไว้เป็นหมวดหมู่เดียวกัน
แล้วนำแต่ละหมวดหมู่จัดเรียงลำดับอย่างมีแบบแผนทำให้มองเห็นความแตกต่างหรือความเหมือนกันของสิ่งมีชีวิต
1.2 การกำหนดชื่อวิทยาศาสตร์ (Nomenclature) ตามกฎนานาชาติของการกำหนดชื่อวิทยาศาสตร์ของพืช (ICBN) หรือสัตว์(ICZN)ซึ่งได้กำหนดกฏเกณฑ์การตั้งชื่อและการเปลี่ยนแปลงแก้ไขการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตไว้เป็นสากลเป็น
ที่ยอมรับกันทั่วโลก
1.3 การตรวจสอบเอกลักษณ์และชนิดของสิ่งมีชีวิต (Identification) เพื่อการศึกษาว่าสิ่งมีชีวิตที่ศึกษามีลักษณะเหมือนกับ
สิ่งมีชีวิตที่เคยจัดจำแนกไว้แล้วหรือไม่ ทำให้ทราบชื่อวิทยาศาสตร์และหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตนั้นได้ หรือทราบว่าเป็นสิ่งมีชีวิต
ชนิดใหม่ที่ยังไม่เคยค้นพบมาก่อนหรือไม่
2. เกณฑ์ในการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต แบ่งเป็น 2 ระบบ คือ
2.1 artificial system เป็นการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตโดยการพิจารณาลักษณะทั่วไปของสิ่งมีชีวิตที่สังเกตเห็นได้ง่าย เช่น รูปร่าง ลักษณะ
ภายนอก ถิ่นอาศัย การดำรงชีพ เป็นต้น

2.2 phylogenetic system เป็นการจัดจำแนกส่องมีชีวิต โดยการพิจารณาความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการ ทำให้มองเห็นสายสัมพันธ ทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตได้

3. เกณฑ์โดยทั่วไปที่ใช้ในการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตในปัจจุบัน ได้แก่
3.1 เปรียบเทียบโครงสร้างที่เด่นชัดทั้งลักษณะภายนอกและลักษณะภายในโดยโครงสร้างที่มีต้นกำเนิดเดียวกัน
(homologous structure) แม้จะทำหน้าที่ต่างกันก็ควรจะอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ในขณะที่โครงสร้างซึ่งมีต้นกำเนิดต่างกัน
(analogous structure) แม้จะทำหน้าที่เหมือนกันก็ควรจะอยู่คนละกลุ่มกัน

3.2 แบบแผนการเจริญเติบโต หากมีรูปแบบการเจริญเติบโต ตั้งแต่ระยะตัวอ่อนจนถึงตัวเต็มวัยเหมือนหรือคล้ายกัน ก็ควรจะจัด
อยู่ในกลุ่มเดียวกัน เช่น คน นก กบ ปลา แม้ตัวเต็มวัยจะต่างกันเด่นชัด แต่ในระยะตัวอ่อนก็ต่างมีช่องเหงือกและโนโตคอร์ด
(notochord) คล้ายกัน จึงจัดอยู่ในไฟลัมน์คอร์ดาตา เช่นเดียวกัน

3.3 ความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการ โดยการศึกษาจากซากดึกดำบรรพ์ (fossil) ทำให้ทราบว่า สิ่งมีชีวิตใดมีบรรพบุรุษร่วมกัน
ควรจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน เช่น การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของเทอราโนดอน (pteranodon) ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยคลานที่บินได้กับ
ซากดึกดำบรรพ์ของ อาร์คีออฟเทอริก (archeopteryx) ซึ่งเป็นนกโบราณที่มีขากรรไกรยาว มีฟัน ปีกมีนิ้ว ซึ่งเป็นลักษณะคล้าย
สัตว์เลื้อยคลาน จึงควรจัดไว้ในกลุ่มที่อยู่ใกล้ชิดกัน
3.4 กระบวนการทางชีวเคมีและสรีรวิทยา โดยการพิจารณาจากชนิดสารเคมีที่สิ่งมีชีวิตสร้างขึ้นว่ามีความคล้ายคลึงกันอย่างไร
ซึ่งจะบอกให้ทราบถึงความใกล้ชิดกันทางพันธุกรรมอีกด้วย ตัวอย่างเช่น การศึกษาแบบแผนไอโซไซม์ระบบต่าง ๆ ในสิ่งมีชีวิต
สามารถนำมาใช้จัดจำแนกสิ่งมีชีวิตในระดับชนิดต่ำกว่าชนิดก็ได้ ทั้งนี้เพราะแบบแผนไอโซไซม์ถูกควบคุมโดยยีนซึ่งเป็น
หน่วยพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตนั่นเอง
3.5 พฤติกรรมความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์อีกด้วย ทำให้ทราบความแตกต่าง
หรือความคล้ายคลึงจนสามารถใช้เป็นข้อมูลในการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตได้
4. ลำดับการจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต เรียงจากหมวดหมู่ใหญ่ซึ่งมีลักษณะต่างกันมากที่สุดไปยังหมวดหมู่ย่อยซึ่งมีลักษณะคล้าย
กันมากที่สุด ตามลำดับ ดังนี้
- Kingdom (อาณาจักร)
- Phylum (ไฟลัมใช้กับสัตว์) หรือ Division (ดิวิชันใช้กับพืช)
- Class (ชั้น)
- Oder (อันดับ)
- Family (ครอบครัว)
- Genus (สกุล)
- Species (ชนิด)
ในสิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจมีการจัดหมวดหมู่แยกย่อยลงไปต่ำกว่าระดับชนิด เช่น subspecies
(ชนิดย่อย) variety (พันธุ์) form (พันธุ์ปลูก) เป็นต้น
5. การเรียกชื่อสิ่งมีชีวิต มีหลายรูปแบบ ได้แก่
- ชื่อพื้นเมือง (Local name หรือ Vernacular name) หมายถึง ชื่อที่เรียกสิ่งมีชีวิตตามท้อง
ถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งซึ่งอาจแตกต่างกันได้ทั้ง ๆ ที่เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน เช่น "มะละกอ" ภาคเหนือเรียกว่า "มะกล้วยเทศ"
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า "หมากหุ่ง" ในขณะที่ภาคใต้เรียกว่า "ลอกอ"
- ชื่อสามัญ (Common name) หมายถึง ชื่อภาษาอังกฤษของสิ่งมีชีวิต เนื่องจากภาษาอังกฤษ
มีการใช้แทนกันแพร่หลายจึงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่น banana (กล้วย) , rose (กุหลาบ) lotus (บัวหลวง) coconut (มะพร้าว) ฯลฯ
- ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) หมายถึง ชื่อที่กำหนดชนิดของสิ่งมีชีวิตทุกหมวดหมู่
ตามกมประมวลกฏนานชาติของการกำหนดชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต ซึ่งคาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus)
นักชีวิวทยาชาวสวีเดน ผู้ได้ชื่อว่า "บิดาแห่งวิชาอนุกรมวิธาน" เป็นผู้เสนอให้เรียกชื่อสิ่งมีชีวิตเป็นภาษาลาติน ประกอบด้วย 2 ชื่อ
(Binomial system) ในหนังสือ Species plantarum เมื่อปี ค.ศ. 1753
6. เกณฑ์สำคัญในการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ มีดังนี้
- ชื่อวิทยาศาสตร์ของพืชและสัตว์ ต่างก็เป็นอิสระไม่เกี่ยวข้องกันและต้องเป็นภาษาลาตินเสมอ
- ชื่อวิทยาศาสตร์ของพืชและสัตว์แต่ละหมวดหมู่ต้องมีชื่อถูกต้องที่สุดเพียงชื่อเดียวเท่านั้น
- ชื่อวิทยาศาสตร์ในลำดับชนิด ต้องทำให้แตกต่างจากอักษรอื่น ๆ เช่น ใช้อักษรตัวเอนหรือขีดเส้นใต้ ก็ได้
- ชื่อวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ลำดับครอบครัวลงไป ต้องมีตัวอย่างต้นแบบ (nomenclatural type) ในการกำหนดชื่อและมีการลงท้ายชื่อ ตามกฏ เช่น
ลำดับครอบครัวของพืชลงท้ายด้วย - aceae
ลำดับครอบครัวของสัตว์ลงท้ายด้วย - idae
F ชื่อวิทยาศาสตร์ในลำดับชนิดต้องประกอบด้วยชื่อสกุล (generic name) ซึ่งขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่ กับ specific epither
ซึ่งมักจะแสดงลักษณะเฉพาะของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น และเขียนด้วยอักษรตัวเล็ก และอาจมีชื่อบุคคลผู้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร ์ (author name) นั้นกำกับไว้ด้วยก็ได้ แต่ไม่ต้องเขียนตัวเอนหรือขีดเส้นใต้ ตัวอย่างเช่น
-ช้าง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Elephas maximus Linn.
-อรพิม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bauhinia winittii Craib.
สำหรับ specific epithet นั้นแสดงลักษณะเด่นของสิ่งมีชีวิตได้หลายลักษณะ เช่น
สีสัน : alba = สีขาว , rubra = สีแดง
fla = สีเหลือง, versicolor = หลายสี
รูปร่าง : giganavtea = ขนาดยักษ์, grandis = ขนาดใหญ่
nana = แคระ, repens = เลื้อย
การใช้ประโยชน์ : sativus = เป็นอาหาร, edulis = รับประทานได้
hortensis = ปลูกประดับ, toxicaria = เป็นพิษ
สถานที่ : indica = อินเดีย, siamensis = ไทย
chinensis = จีน, brasiliensis = บราซิล
7. การเสนอชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ (new species) นั้นมีคำตอบดำเนินการดังนี้
- กำหนดชื่อวิทยาศาสตร์ตามกฎ ICBN หรือ ICZN
- บรรยายลักษณะของสิ่งมีชีวิตนั้นเป็นภาษาลาติน พร้อมทั้งกำหนดตัวอย่างต้นแบบ (type) ด้วย
- ตีพิมพ์เผยแพร่ โดยบ่งบอกชื่อผู้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์และเติมคำว่า sp.nov. ด้วย เพื่อให้ทราบว่าเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ ตัวอย่างเช่น Kaempferia larsenii P. Sirirugsa sp.nov.
8. การจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตในอดีตจนถึงปัจจุบัน สรุปได้ ดังนี้
อริสโตเติล (Aristotoe)
- จำแนกพืฃออกเป็น ไม้ยืนต้น (tree) ไม้พุ่ม (shrubs) และไม้ล้มลุก (herbs)
- จำแนกสัตว์ออกเป็นพวก พวกที่มีเลือดสีแดงและไม่มีเลือดสีแดง
ทีโอเฟรทัส (Theophratus)
- จำแนกพืชตามลักษณะวิสัย (habit) และบรรยายลักษณะพืชไว้ถึง 500 ชนิด จึงได้รับการยกย่องเป็น "บิดาแห่งพฤษศาสตร์"
จอห์นเรย์ (John Ray)
- จำแนกพืชโโยใช้ลักษณะสัณฐานวิทยาถึง 18,000 ชนิด
- เริ่มจำแนกพืชออกเป็นพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
- เริ่มใช้คำว่า "species" เรียกพืชและสัตว์
คาโรลัส สินเนียส (Carolus Linnaeus)
- จำแนกพืชโดยใช้จำนวนและลักษณะเกสรและเพศผู้ และเสนอหลักเกณฑ์การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ตามระบบ binomial nomenclature
เอิร์น แฮคเคล (Ernst Haecket)
จำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็น 3 อาณาจักร คือ
- อาณาจักรพืช : พวกที่สร้างอาหารได้เอง
- อาณาจักรสัตว์ : พวที่สร้างอาหารเองไม่ได้
- อาณาจักรโพรทิสตา : พวกที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน
โคปแลนด์ (Copeland)
จำแนกสิ่งมีชีวิตเป็น 4 อาณาจักร คือ
- อาณาจักรมอเนอรา : พวกโพรคาริโอต (prokaryote)
- อาณาจักรโพรทิสตา : พวกยูคาริโอต (eukaryote) ที่มีเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์แต่เซลล์ยังไม่ประสานงานกันเป็นระบบ
- อาณาจักรพืช : พวกพืชชั้นต่ำและพืชชั้นสูง
- อาณาจักรสัตว์ : พวกสัตว์ซึ่งมีกระดูกสันหลังและไม่มีกระดูกสันหลัง
วิตเทเกอร์ (Whittaker)
จำแนกสิ่งมีชีวิตเป็น 5 อาณาจักร คือ
- อาณาจักรมอเนอรา : พวกโพคาริโอต
- อาณาจักรโพรทิสตา : พวกยูกคาริโอตเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์แต่ยังไม่เปลี่ยนไปเป็นเนื้อเยื่อเพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง
- อาณาจักรฟังไจ : พวกยูกคาริโอตที่สร้างอาหารเองไม่ได้ มักดำรงชีวิตแบบภาวะย่อยสลาย
- อาณาจักรพืช : พวกพืชทั้งหลาย
- อาณาจักรสัตว์ : พวกสัตว์ทั้งหลาย

อาณาจักรไวรา
(Kingdom Vira)
นักวิทยาศาสตร์พบว่ายังมีสิ่งมีชีวิตอีก 2 ชนิด คือ ไวรัส (Virus) กับไวรอยด์ (viroid) มีลักษณะแตกต่างจากพวกโพรคาริโอต
และยูคาริโอต กล่าวคือ โครงสร้างยังไม่เป็นเซลล์ ไม่มีทั้งเยื่อหุ้มเซลล์และไซโทพลาซึม เป็นพียงอนุภาค (virion) ที่ประกอบด้วย
DNA หรือ RNA และโปรตีนเท่านั้น
- ไวรัสประกอบด้วย DNA หรือ RNA ที่มีโปรตีน (capsid) ห่อหุ้มและมีเอนไซม์สำหรับใช้ในเมแทบอลิซึม ส่วนไวรอยด์มีเฉพาะ
RNA ที่ไม่มีโปรตีนหุ้มและไม่มีเอนไซม์เลย

- โรคบางชนิดที่เกิดจากไวรัส ได้แก่
โรค ไวรัสที่ทำให้เกิดโรค
ไข้เลือดออก
ไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัด
โรคตับอักเสบชนิดบี
โรคเอดส์ Arbovirus
Orthomyxovirus
Picornavirus
Hepatitis B Virus
Human Immunodeficiency Virus
อาณาจักรมอเนอรา
(Kingdom Monera)
สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้จัดเป็นพวกโพรคาริโอต (prokaryote0 เนื่องจากไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสไมโทคอนเดรียและคลอโรพลาสต์
(แต่แบ่งชนิดอาจมีคลอโรฟิลล์) มีโรโบโซมขนาดเล็กกว่ายูคาริโอต แบ่งออกเป็น 2 ดิวิชัน คือ
1. ดิวิชันชิโวไฟตา (Division Schizophyta) มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
ผนังเซลล์คล้ายร่างแห เรียกว่า mucopeptide หรือ glucosaminopeptide เพราะประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตและกรดอะมิโน
ตัวอย่างเช่น แบคทีเรีย มีรูปแบบ 3 แบบ คือ
- แบบแท่งหรือท่อนทรงประบอก ได้แก่ พวกบะซิลลัส (Bacillus)
- แบบกลมหรือรี ได้แก่ พวกคอกคัส (Coccus)
- แบบโค้งงอ ได้แก่ พวกสไปริสลัม (Spirillum) เซลล์คงรูปไม่เปลี่ยนแปลง พวกสไป โรขีต (Spirochete) เซลล์ยืดหยุ่นไม่คงรูป
และพวกคอมมา (Comma) เซลล์โค้งคล้ายจุดลูกน้ำ
การเรียงตัวของแบคทีเรียมีหลายแบบ เช่น
Micrococcus : เซลล์เดี่ยว
Diplococcus : เซลล์เรียงเป็นคู่
Streptococcus : เซลล์เรียงต่อเป็นสาย
Staphylococcus : เซลล์เป็นกลุ่มรูปร่างไม่แน่นอน
แบคทีเรียแกรมบวก (Gram positive) ย้อมติดสีน้ำเงินของคริสทัลไวโอเลต (crystal violet) ส่วนแบคทีเรียแกรมลบ
(Gram negative) ย้อมติดสีแดงของแซฟรานิน (safranin) หรือ อีโอซิน (eosin)
แบคทีเรียบางชนิดมีรงควัตถุ เรียกว่า bacteriochlorophyll จึงไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง
แบคทีเรียสืบพันธุ์โดยการแบ่งเซลล์แบบทวีคูณ (binary fission) ได้ทุก ๆ 20 นาที แต่หากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมจะสร้าง
เอนโดสปอร์ (endospore)
แบคทีเรียมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ ดังนี้
- เป็นผู้ย่อยสลาย ทำให้มีการหมุนเวียนสารในระบบนิเวศ
- ตรึงในโตรเจนในบรรยากาศให้เป็นเกลือไนเตรตได้ เช่น Rhizobium ในปมรากพืชตระกูลถั่ว
- ผลิตสารปฏิชีวนะ (antibiotic) ใช้รักษาโรคได้
- ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ในมนุษย์ เช่น

2. ดิวิชันไซแอโนไฟตา (Division Cyanophyta) มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
-ส่วนใหญ่เป็นเซลล์เดี่ยว ๆ บางชนิดเป็นสายยาวมีเมือกใสหุ้ม
-ไม่มีคลอโรพลาสต์ แต่มีรงควัตถุพวกคลอโรฟิลล์เอ แซนโทฟิลล์และ c - phycocyanin (สีน้ำเงิน) กับ c - phycoerythrin (สีแดง) กระจายอยู่ในไซโทพลาซึม
-รอบนอกผนังเซลล์มีพอลิแซกคาไรด์หุ้มอยู่ และมีรงควัตถุแคโรทีนนอยด์และไฟโคบิลิน ทำให้มีสีต่างกัน เช่น น้ำเงิน แดง
ม่วงหรือน้ำตาล
- สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการแบ่งเซลล์จาก 1 เป็น 2 หรือการขาดเป็นท่อน ๆ (fragmentation) ในสภาพแวดล้อม
ไม่เหมาะสมจะสร้าง อะคีนิท (akinete) ซึ่งมีผนังหนาและมีอาหารสะสมในเซลล์มาก
- ตัวอย่างเช่น สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน บางชนิดสามารถตรึงไนโตรเจนได้ : นอสตอก (Noatoc) แอนาบีนา (Anabaena)
เป็นต้น บางชนิดเป็นแหล่งอาหารโปรตีน : สาหร่ายเกลียวทอง (Spirulina)
อาณาจักรโพรทิสตา
(Kingdom Protista)
สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้เป็นพวกยูคาริโอต (eukaryote) ประกอบด้วยเซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ส่วนใหญ่เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์เดียว บางชนิดมีหลายเซลล์แต่ยังไม่มีการทำหน้าที่ร่วมกันเป็นเนื้อเยื่อหรืออวัยวะ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
I. สาหร่าย (Algae)
เป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารได้เอง (autroph) มีหลายรูปแบบทั้งที่เป็นเซลล์เดี่ยวและหลายเซลล์ต่อกันเป็นสายหรือรวมกันเป็นกลุ่ม
ลักษณะสำคัญของสาหร่ายที่แตกต่างจากพืช คือ
- โครงสร้างที่ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ของสาหร่ายเป็นเซลล์เดี่ยว
- ไซโกตของสาหร่ายทุกชนิดเจริญต่อไปโดยไม่มีระยะเอมบริโอหลายเซลล์
การจำแนกสาหร่ายในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 7 ดิวิชัน คือ
1. ดิวิชันคลอโรไฟตา (Division Cholorophyta) มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
-เป็นสาหร่ายเซลล์เดี่ยว หรืออยู่เป็นกลุ่มหรือหลาย ๆ เซลล์ประกอบกันเป็นรูปร่าง
-พบทั่วไปทั้งแหล่งน้ำจืด น้ำทะเล น้ำกร่อยและที่ชื้นแฉะ หากมีปริมาณมากจะเกิด water bloom ได้
- สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศโดยการสร้าง แกมีต และแบบไม่อาศัยเพศ โดยการแบ่งตัวจาก 1 เป็น 2 การสร้างซูโอสปอร์
หรือการขาดจากกันเป็นท่อน ๆ
สาหร่ายสีเขียว (green algae) ที่พบแล้วในปัจจุบันมีมากกว่า 7,500 ชนิด มีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น
- ชนิดเซลล์เดี่ยวเคลื่อนที่โดยใช้แฟลกเจลลัม : - Chlamydomonas
- ชนิดเซลล์เดี่ยวเคลื่อนที่ไม่ได้ : - Volvox , Gonium
- ชนิดอยู่เป็นโคโลนีเคลื่อนที่ไม่ได้ : - Pediastrum , Scenedesmus
- ชนิดเป็นสายไม่แตกแขนง : - Spirogyra
- ชนิดเป็นแผ่นบาง : - Ulva , Momostroma
- ชนิดเป็นท่อไม่มีผนังเซลล์กั้น : - Acetabularia , Codium
2. ดิวิชันยูกลิโนไฟตา (Division Euglenophyta) มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
- เป็นเซลล์เดี่ยวค่อนข้างยาว เคลื่อนที่โดยใช้แฟลกเจลลัม
- คล้ายพวกโพรโทซัว เพราะไม่มีผนังเซลล์ แต่มีคลอโรฟิลล์จึงไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง
- พบในแหล่งน้ำจืดมากกว่าแหล่งน้ำเค็ม อาจทำให้เกิด water bloom ได้
- สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการแบ่งตัวตามยาว
- ตัวอย่างเช่น ยูกลีนา (Euglena) , ฟากัส (Phacus)
3. ดิวิชันแคโรไฟตา (Division Charophyta) มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
- ลักษณะคล้ายพืชชั้นสูง มีส่วนคล้ายลำต้น เห็นข้อปล้องชัดเจน บริเวณข้อมีแขนงแตกโดยรอบคล้ายใบ
- ผนังเซลล์ประกอบด้วยเซลลูโลสและมีแคลเซียมคาร์บอเนตสะสมทำให้แข็งแรงและหยาบ
- ตัวอย่างเช่น สโตนเวิร์ต (stoneworts) : - Chara , Nitella
4. ดิวิชันฟีโอไฟตา (Division Phyeophyta) มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
- ประกอบด้วยหลายเซลล์มีรูปร่างเป็นสายแตกแขนงหรือมีรูปร่างเป็นแผ่นแบน คล้ายใบ เรียกว่า blade ส่วนคล้ายลำต้น
เรียกว่า stipe และส่วนที่ยึดเกาะกับพื้น เรียกว่า holdfast
- สาหร่ายสีน้ำตาล (brown alge) มีรงควัตถุฟิวโคแซนทิน (fucoxanthin) มากและผนังเซลล์มีกรดแอลจินิก (alginic acid)
สะสมอยู่มาก ซึ่งนำมาสกัดเอาสารประกอบแอลจิน (algin) ใช้ในการทำสี ทำยาและทำขนมได้
- ปัจจุบันพบแล้วประมาณ 1,500 ชนิด เช่น เคลป์ (kelp) ลามินาเรีย (Laminaria), ซาร์กัซซัม (Sargassum) พาไดนา (Padina)
5. ดิวิชันคริสโซไฟตา (Division Chysophyta) มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
- ส่วนใหญ่เป็นเซลล์เดี่ยว ๆ อาจมีบางชนิดเซลล์ต่อเป็นสายสั้น ๆ หรือรวมกันเป็นกลุ่ม
- พบทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม ประมาณ 10,000 ชนิด ได้แก่ สาหร่ายสีเขียวแกมเหลือง (yellow - green algae)
สาหร่ายสีน้ำตาลแกมเหลือง (goldenbrown alge) และไดอะตอม (diatom)
- ไดอะตอมมีผนังเซลล์เป็นสารประกอบพวกซิลิคอนซึ่งมีความแข็งและคงรูป ซากไดอะตอมจึงทับถมอยู่ใต้ทะเล เรียกว่า
diatomaceous earth ซึ่งนำมาใช้ทำยาขัดเครื่องเงิน ยาสีฟัน การฟอกสี ตัวช่วยกรอง เป็นต้น
6. ดิวิชันไพร์โรไฟตา (Division Pyrrophyta) มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
- ส่วนใหญ่เป็นเซลล์เดี่ยว ๆ มีแฟลกเจลลัม 2 เส้น ช่วยในการเคลื่อนที่ บางชนิดเรืองแสงได้ (bioluminescent)
- ผนังเซลล์เป็นแผ่นหลายแผ่นประกอบกัน เรียกว่า อาร์เมอร์ เพลต (armour plate)
- พบในน้ำเค็มมากกว่าน้ำจืด ได้แก่ ไดโนแฟลกเจลเลตชนิดต่าง ๆ เช่น Ceratium , Gymnodinium , Gonyaulax ฯลน
- Gessnerium catenellum เป็นไดโนแฟลกเจลเลตที่ก่อให้เกิด water bloom ได้ ทำให้เห็นน้ำทะเลเป็นสีแดง เรียกว่า
"ขี้ปลาวาฬ" (red tide) และยังปล่อยสารพิษออกมาอีกด้วย
7. ดิวิชันโรโดไฟตา (Division Rhodiphyta) มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
- มีทั้งเซลล์เดี่ยวหรือเป็นสายแตกแขนงหรือเป็นแผ่นแบนบาง
- มีรงควัตถุไฟโคบิลิน ซึ่งเมื่ออยู่ในน้ำลึกจะเห็นเป็นสีแดง
- ผนังเซลล์มีสารเมือกเหนียว เรียกว่า คาร์แรกจีแนน (carrageenan) ซึ่งนำมาผลิตวุ้น ใช้อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอาง
- พบแล้วประมาณ 4,000 ชนิด ที่รู้จักกันดี คือ จีไฉ่ (Porphyra)
II. โพรโทซัว (Photozoa)
เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ดำรงชีวิตเป็นเซลล์เดี่ยวหรืออยู่รวมกันเป็นกลุ่ม พบทั้งในน้ำจืด น้ำเค็ม
และในดิน ส่วนใหญ่กินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร (holozioc) แบ่งออกเป็น 4 ไฟลัม คือ
1. ไฟลัมแมสทิโกฟอราหรือแฟลกเจลลาติก (Phylum Mastigophora หรือ Flagellata)
ลักษณะสำคัญ
-เคลื่อนที่โดยใช้แส้ (flagellum) ซึ่งอาจมีมากกว่า 1 เส้น ก็ได้
F พบทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม เช่น
Noctiluca : ทำให้น้ำทะเลเรืองแสง
Trypanosoma : เป็นปรสิตในเลือดคนทำให้เกิดโรค sleeping sickness
Trichonympha : อาศัยในลำไส้ปลวก
2. ไฟลัมซาร์โคดินาหรือไรโซโพดา (Phylum Sarcodina หรือ Rhizopoda)
ลักษณะสำคัญ
- เคลื่อนที่โดยใช้เท้าเทียม (pseudopodium)
- ส่วนใหญ่อยู่ในน้ำจืด เช่น
Amoeba : ดำรงชีวิตอิสระ
Foraminifera และ Radiolaria : มีเปลือกเป็นสารพวกซิลิกา หรือ หินปูนหุ้ม
Entmoeba histolytica : ทำให้เกิดโรคบิด ท้องร่วง
3. ไฟลัมซิลิโอฟอรา (Phylum Cilliophora)
ลักษณะสำคัญ
- เคลื่อนที่โดยใช้ซิเลีย (cilia) จึงมีความว่องไวกว่ากลุ่มอื่น ๆ
- มี 2 นิวเคลียส คือ micronucleus ทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์ ส่วน macronucleus ทำหน้าที่ควบคุมกิจกรรมของเซลล์
- ส่วนใหญ่ดำรงชีวิตเป็นอิสระทั้งในแหล่งน้ำจืดและน้ำเค็ม เช่น พารามีเซียม (paramecium) , วอร์ติเซลลา (Vorticella)
4. ไฟลัมสปอโรซัว (Phylum Sporozoa)
ลักษณะสำคัญ
- ไม่มีโครงสร้างในการเคลื่อนที่
- สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและแบบไม่อาศัยเพศโดยการสร้างสปอร์จำนวนมาก
- ดำรงชีวิตเป็นปรสิตทั้งหมด ตัวอย่างเช่น plasmodium ซึ่งทำให้เกิดไข้มาลาเรียหรือไข้จับสั่นในมนุษย์
III. ราเมือก (slime mold)
เป็นพวกโพรทิสต์ที่อยู่รวมเป็นกลุ่ม มีเพียวดิวิชันเดียว หรือ
ดิวิชันมิโซไมโคตา (Division Myxomycota)
ลักษณะสำคัญ
- ในระยะไม่สืบพันธุ์ประกอบด้วยโพรโทพลาซึมมีหลายนิวเคลียส ไม่มีผนังเซลล์ เปลี่ยนรูปร่างได้หลายแบบ เรียกว่า
พลาสโมเดียม (plasmodium) เห็นเป็นเมือกสีขาว แดง เหลือง หรือส้ม มีการเคลื่อนที่และกินอาหารคล้ายอมีบา
- มีวงชีวิตแบบสลับ สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและแบบไม่อาศัยเพศโดยการสร้างสปอร์
- พบบริเวณที่ชื้นแฉะซากใบไม้ กองไม้ผุพัง พื้นดินชุ่มชื้น ตัวอย่างเช่น Stemonitis , Physarum เป็นต้น

อาณาจักรฟังไจ
(Kingdom Fungi)
สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้ส่วนใหญ่ดำรงชีวิตแบบภาวะย่อยสลาย (saprophytism) แต่บางชนิดดำรงชีวืตเป็นปรสิต มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
- มีหลายเซลล์ประกอบกันเป็นเส้นใย (hypha) อยู่รวมกันเป็นกระจุก เรียกว่า mycelium
- ผนังเซลล์เป็นสารพวกไคติน (chitin) หรือเซลลูโลส (cellulose)
- ดำรงชีวิตเป็นผู้ย่อยสลาย (decomposer) ในระบบนิเวศ
1. ดิวิชันไคทริดิโอไมโคตา (Division Chytridiomycota)
ลักษณะสำคัญ
- มีลักษณะเป็นแทลลัสเล็ก ๆ มี sporagium และ rhizoid
- สปอร์และแกมีตมีแฟลกเจลลัมใช้ในการเคลื่อนที่
- ผนังเซลล์ประกอบด้วยไคทิน
- พบแล้วประมาณ 650 ชนิด อาศัยทั้งในน้ำจืด น้ำเค็ม และที่ชื้นแฉะ ตัวอย่างเช่น Chytridium sp.
2. ดิวิชันโอโอไมโคตา (Division Oomycota)
ลักษณะสำคัญ
- แกมีตเพศผู้และเพศเมียไม่มีแฟลกเจลลัมจึงเคลื่อนที่ไม่ได้
- สปอร์มีแฟลกเจลลัม 2 เส้น
- ผนังเซลล์ประกอบด้วยเซลลูโลสเป็นส่วนใหญ่
- พบแล้วประมาณ 475 ชนิด อาศัยอยู่ในน้ำเป็นส่วนใหญ่ จึงเรียกว่า ราน้ำ (water moid) เช่น Plasmopara viticola
ทำให้เกิดโรคราน้ำค้างในองุ่น
3. ดิวิชันไซโกไมโคตา (Division Zygomycota
ลักษณะสำคัญ
- ไม่มีเซลล์ที่มีแฟลกเจลลัมเลยในวงชีวิต
- สืบพันธุ์โดยสร้าง ไซโกสปอร์ (zygospore) ซึ่งเจริญมาจากไซโกต
- ส่วนมากอาศัยอยู่ในดิน บางชนิดเป็นปรสิต
- พบแล้วประมาณ 600 ชนิด ที่รู้จักกันดี คือ ราขนมปัง (Rhizopus stolonifer)
4. ดิวิชันแอสโคไมโคตา (Division Ascomucota)
ลักษณะสำคัญ
- มีเส้นใยที่มีผนังกั้นแบบมีรูทะลุถึงกัน ทำให้ไซโทพลาซึมและนิวเคลียสไหลถึงกันได้
- สร้างสปอร์แบบไม่อาศัยเพศตรงส่วนปลายเส้นใย เรียกว่า โคนิเดียม (conidium)
- สร้างสปอร์แบบอาศัยเพศ เรียกว่า แอสโคสปอร์ อยู่ภายในแอสคัส (ascus)
- เซลล์ไม่มีแฟลกเจลลัม
- ราในดิวิชันนี้มีจำนวนชนิดมากที่สุด พบแล้วประมาณ 30,000 ชนิดบางชนิดสร้าง fruiting body เด่นชัด เช่น Morchella sp.
บางชนิดเป็นเซลล์เดี่ยว สืบพันธุ์โดยการแตกหน่อหรือสร้างแอสคัสได้ เช่น ยีสต์ (yeast)
5. ดิวิชันเบสิดิโอไมโคตา (Division Basidiomycota)
ลักษณะสำคัญ
- มีเส้นใยที่มีผนังกั้นแบบรูพรุน
- สร้างสปอร์แบบอาศัยเพศ เรียกว่า เบสิดิโอสปอร์ (basidiospore)
- เป็นราที่มีวิวัฒนาการสูงสุด มีเบสิเดียมอยู่บน fruiting body เรียกว่าเบสิดิโอคาร์ป (basidiocarp) หรือดอกเห็ด
- เซลล์ไม่มีแฟลกเจลลัม
- พบแล้วประมาณ 25,000 ชนิด เช่น เห็ดหูหนู , เห็ดโคน , เห็ดฟาง , เห็ดเป๋าฮื้อ ฯลฯ
6. ดิวิชันดิวเทอโรไมโคตา (Division Deuteromycota)
ลักษณะสำคัญ
- เส้นใยมีผนังกั้น
- สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการสร้าง โคนิเดียม (conidium) เพียงอย่างเดียว
- ดำรงชีวิตแบบปรสิตหรือภาวะย่อยสลาย
- พบแล้วประมาณ 25,000 ชนิด เช่น Penicillium notatum ใช้ผลิตยาเพนนิซิลลิน ราที่ใช้ผลิตเนยแข็ง ราที่ทำให้เกิดโรค
กลาก เกลื้อน และโรคเท้าเปื่อย เป็นต้น
ความสัมพันธ์ของรากับสิ่งมีชีวิตอื่น
1. ไลเคนส์ (Lichens) เป็นการอยู่ร่วมกันแบบภาวะพึ่งพา (mutualism) ของสาหร่ายสีเขียว
เซลล์เดียวหรือสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน กับราในดิวิชันแอสโคไมโคตา โดยสาหร่ายจะได้รับความชุ่มชื้นและ
Co จากเส้นใยของรา ในขณะที่ราก็ได้อาหารจากสาหร่าย ไลเคนส์ที่พบในปัจจุบันจำแนกออกเป็น 3 แบบ คือ
1) ครัสโทส (crustose form) เป็นแผ่นบางเกาะติดแน่นตามก้อนหินหรือไม้ สามารถผลิตสารที่มีสมบัติเป็นกรดกัดกร่อนหินให้ผุกร่อนได้
2) โฟลิโอส (foliose form) เป็นแผ่นแบนบางคล้ายใบไม้เกาะติดก้อนหินหรือเปลือกไม้เพียง บางส่วน จึงหลุดจากที่ยึดเกาะได้
3) ฟรูทิโคส (fruticose form) เป็นเส้นเล็ก ๆ แตกกิ่งก้านคล้ายพุ่มไม้เตี้ย ๆ ห้อยแกว่งไปมา ได้
ประโยชน์ของไลเคนส์
1) ใช้ทำสีย้อมผ้า , ยารักษาแผลที่ถูกไฟลวก , อาหารสัตว์ , น้ำหอม
2) ใช้เป็นเครื่องบ่มชี้มลพิษของอากาศ
3) ช่วยทำให้หิผุกร่อนกลายเป็นดิน
2. ไมโคไรซา (mycirrhiza) เป็นการอยู่รวมกันของรากับพืชที่มีระบบท่อลำเลียง โดยราจะ
สร้างเส้นใยแทรกเข้าไปเจริญในเซลล์รากของพืชหรือสร้างปลอกหุ้มรากเอาไว้ จากการศึกษาพบว่า ราจะได้ประโยชน์จาก
การดูดแร่ธาตุอาหารจากพืช และราก็จะช่วยเปลี่ยนแร่ธาตุในดินให้อยู่ในสภาพที่รากพืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
อาณาจักรพืช
(Kingdom Plantae)
พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารได้เอง (Autotroph) นักพฤกษศาสตร์เชื่อว่าพืชมีต้นกำเนิดจากสาหร่ายสีเขียว ต่อมาจึงมีวิวัฒนาการ จนขึ้นมาอยู่บนบกและแพร่กระจายอยู่ทั่วไปจนถึงปัจจุบัน สิ่งที่มีชีวิตอยู่ในอาณาจักรนี้ต้องมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
- มีคลอโรฟิลล์อยู่ในคลอโรพลาสต์ จึงสร้างอาหารได้เอง
- หลังจากปฏิสนธิจะมีระยะต้นอ่อนก่อนเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่
- มีวงชีวิตแบบสลับ (alternation of generation)
- เป็น eukaryotic cell ที่รวมกันเป็นเนื้อเยื่อเพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง นักพฤกษอนุกรมวิธาน จัดจำแนกพืชออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
I. พืชที่ไม่มีท่อลำเลียง (Nonvascular plant) เป็นพืชที่มีวิวัฒนาการต่ำสุด มีเพียงดิวิชันเดียว
คือ ดิวิชันไบรโอไฟตา (Division Bryophyta)
ลักษณะสำคัญ
- ไม่มีราก ลำต้นและใบที่แท้จริง
- มีไรซอยด์ (rhizoid) ทำหน้าที่ดูดน้ำและแร่ธาตุ
- ไม่มีท่อลำเลียงน้ำ (xylem)และท่อลำเลียงอาหาร (phloem)
- ช่วงที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ เรียกว่า แกมีโตไฟต์ (gametophyte) เด่นกว่าช่วงที่สร้างสปอร์ ซึ่งเรียกว่า สปอร์โรไฟต์ (sporophyte)
โดยพบว่า สปอร์โรไฟต์ เจริญอยู่บนแกมีโตไฟต์ แบ่งเป็น 3 คลาส คือ
1. Class Bryopsida : - มอส (moss)
- พบทั่วไปบริเวณที่ชุ่มชื้นดูคล้ายพรมสีเขียวสด มีประมาณ 9,500 ชนิด
- Leafy gametophyte ประกอบด้วยส่วนที่คล้ายราก เรียกว่า rhizoid ส่วนที่คล้ายลำต้น เรียกว่า caulidium
และส่วนที่คล้ายใบเรียกว่า phyllidium
- Sporophyte ประกอบด้วยส่วนที่ยึดติดกับแกมีโตไฟต์ เรียกว่า foot ก้านชูอับสปอร์ (seta) และอับสปอร์ (capsule)
- มีวงชีวิตแบบสลับ (alternation generation) สรุปได้ดังนี้

2. Class Hepaticopsida : ลิเวอร์เวิร์ต (liverwort)
- มีลักษณะที่ชื้นแฉะ มีลักษณะเป็นแทลัส (thallus) แบนบางสีเขียว ส่วนปลายแยกออกเป็น 2 แฉก (dichotomous branching)
มีประมาณ 6,000 ชนิด
- มีชีวิตแบบสลับคล้ายมอส
3. Class Anthoceropsida :- ฮอร์นเวิร์ต (hornwort)
- มีลักษณะเป็นแผ่นมีรอยหยักตรงขอบ มีประมาณ 100 ชนิด
- มีวงชีวิตแบบสลับเช่นกัน แต่ antheridium และ archegonium ฝังอยู่ในแทลลัสไม่มีก้านชูเหมือนลิเวอร์เวิร์ต
II. พืชมีท่อลำเลียง (Vascular plant)
พืชกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีราก ลำต้นและใบเจริญเติบโต มีสปอร์โรไฟต์เด่นชัด ส่วนแกมีโตไฟต์มี ขนาดเล็ก มีหลายดิวิชัน คือ
1. ดิวิชันไซโลไฟตา (Division Psilophyta) ลักษณะสำคัญ
- ลำต้นเป็นเหลี่ยมมีสีเขียว แตกกิ่งเป็นคู่ ๆ ไม่มีใบที่แท้จริง แต่มีใบเกล็ดทำหน้าที่แทน
- ลำต้นอยู่ใต้ดิน (rhizome) มี (rhizoid) ทำหน้าที่แทนราก
- อับสปอร์อยู่ติดกับลำต้น เมื่อสปอร์ตกสู่พื้นดินจะงอกและเจริญเป็นแกมีโตไฟต์ซึ่งจะสร้าง antheridium และ archegonium
เพื่อการสืบพันธุ์ต่อไป
- ตัวอย่างเช่น หวายทะนอย (Psilotum nudum) ซึ่งถือว่าเป็นพืชที่มีท่อลำเลียงที่มีวิวัฒนาการต่ำที่สุด
2. ดิวิชันไลโคไฟตา (Division Lycophyta) ลักษณะสำคัญ
- มีราก ลำต้น ใบที่แท้จริง
- รากและลำต้นแตกแขนงเป็น 2 แฉกเสมอ
- ใบเป็นแบบ microphyll เรียงตัวเป็นเกลียวรอบกิ่งหรือลำต้น ส่วนปลายสุดของกิ่งจะสร้างอับสปอร์รวมกันเป็นกลุ่ม เรียกว่า
สตรอบิลัส (strobilus)
- สปอร์มี 2 แบบ คือ megaspore มีขนาดใหญ่เจริญเป็นแกมีโตไฟต์เพศเมีย ส่วน microsporeมีขนาดเล็กเจริญเป็นแกมีโตไฟต์เพศผู้ พบแล้วประมาณ 1,000 ชนิด ได้แก่
- ไลโคโปเดียม (Lycopodium) : - ช้องนางคลี่ สร้อยสุกรม หางกระรอก สามร้อยยอด หญ้ารังไก่ สร้อยสีดา
- ซีแลกจิเนลลา (Selaginella) : - ตีนตุ๊กแก หญ้าร้องไห้ เฟือยนก พ่อค้าตีเมีย
3. ดิวิชันสฟีโนไฟตา (Division Sphenophyta) ลักษณะสำคัญ
- ลำต้นสีเขียวสังเคราะห์แสงแทนใบ ผิวเป็นร่องและเป็นสันยาว ภายในแต่ละปล้องกลวง ข้อปล้องเด่นชัดถอดแยกออกจากกันได้
- ใบเป็นแบบ microphyll ปลายกิ่งมีอับสปอร์ เรียกว่า strobilus บางชนิดแตกกิ่งออกรอบข้อดูคล้ายหางม้า
- แกมีโตไฟต์มีขนาดเล็ก สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียได้ในต้นเดียวกัน
- สปอโรไฟต์มีขนาดใหญ่เด่นชัด มีทั้งอยู่เหนือดินและใต้ดิน
- ตัวอย่าง เช่น หญ้าถอดปล้อง สนหางม้า หญ้าเงือก หญ้าหูหนวก
4. ดิวิชันเทอโรไฟตา (Division Pterophyta) ลักษณะสำคัญ
- มีราก และลำต้นใบเจริญดี โดยใบเป็นแบบ megaphyll ซึ่งเป็นแผ่นกว้างและมีเส้นใบแตกจากเส้นกลางใบ
- มีลำต้นใต้ดินแบบ rhizome ใบอ่อนม้วนงอคล้ายลานนาฬิกา เรียกว่า circinare vernation
- ใบที่โตเต็มที่ เรียกว่า frond สร้างสปอร์อยู่ภายในกลุ่มอับสปอร์ เรียกว่า sorus อยู่ด้านล่างใบ
- สปอร์งอกหลายเป็นแกมีโตไฟต์ขนาดเล็กสีเขียวรูปร่างคล้ายหัวใจ เรียกว่า prothallus มีโรซอยด์และเจริญเป็นอิสระในดินที่ชุ่มชื้น
- antheridium และ archegonium อาจอยู่บน prothallus เดียวกันหรือไม่ก็ได้และเจริญไม่พร้อมกัน
- มีวงชีวิตแบบสลับเด่นชัด
- พบแล้วประมาณ 1,200 ชนิด มีแหล่งที่อยู่ต่างกันหลายแบบ เช่น
- อยู่ในน้ำ ได้แก่ ผักแว่น ผักกูดน้ำ แหนแดง
- อยู่บนบกที่ชุ่มชื้น ได้แก่ ย่านลิเภา ปรงทะเล ข้าหลวงหลังลาย เฟิน
- เกาะบนต้นไม้ใหญ่ ได้แก่ ชายผ้าสีดา
สำหรับพืชมีท่อลำเลียงและมีเมล็ดนั้น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
พวกจิมโนสเปิร์ม (Gymnosperm)
- เป็นพืชที่มีเมล็ดซึ่งไม่มีเครื่องห่อหุ้ม
- ถ่ายละอองเรณูโดยอาศัยลม ซึ่งนับเป็นพืชกลุ่มแรกที่สืบพันธุ์โดยไม่อาศัยน้ำ ซึ่งถือว่าเป็นวิวัฒนาการขั้นสำคัญของพืชบก
ซึ่งมีหลายดิวิชัน คือ
1. ดิวิชันโคนิเฟอโรไฟตา (Division Coniferophyta) ลักษณะสำคัญ
- เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ รูปทรงลำต้นคล้ายพีระมิด
- ใบมีขนาดเล็กคล้ายเข็มรวมกันเป็นกลุ่ม ๆ
- สืบพันธุ์โดยเมล็ดซึ่งไม่มีผนังรังไข่ห่อหุ้มติดอยู่กับ cone ซึ่งเป็นแผ่นแข็งสีน้ำตาลเรียงซ้อนเป็นชั้น ๆ
- โคนมี 2 แบบคือ female cone สร้าง megaspore ซึ่งเจริญเป็น egg กับ male cone สร้าง microspore ซึ่งเจริญเป็น pollen grain
- พบแล้วประมาณ 550 ชนิด เช่น สนสองใบ สนสามใบ สนหางสิงห์ สนฉัตร เป็นต้น

2. ดิวิชันไซแคโดไฟตา (Division Cycadophyta) ลักษณะสำคัญ
- ลำต้นมีขนาดใหญ่และเตี้ย มีใบประกอบขนาดใหญ่อยู่เป็นกระจุกบนยอดลำต้น และไม่แตกกิ่งก้าน
- ปัจจุบันพบค่อนข้างน้อยประมาณ 100 ชนิด เช่น ปรงป่า มะพร้าวเต่า ปรงญี่ปุ่น
3. ดิวิชันกิงโกไฟตา (Division Ginkgophyta) ลักษณะสำคัญ
- ใบมีขนาดเล็กรูปร่างเป็นสามเหลี่ยมคล้ายพัด
- เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ผลมีกลิ่นเหม็น แต่เมล็ดมีรสมันอร่อย
- ปัจจุบันพบเพียงชนิดเดียวเท่านั้น คือ แป๊ะก๊วย (Ginkgo biloba) จัดเป็นพืชโบราณที่มีวิวัฒนาการน้อยมาก
4. ดิวิชันนีโทไฟตา (Division Gnetophyta) ลักษณะสำคัญ
- เป็นไม้ยืนต้น ไม้พุ่มหรือไม้เถาขนาดใหญ่ที่มีเนื้อไม้
- ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดเล็กถึงปานกลาง
- เกือบสูญพันธุ์แล้ว เหลือเพียง 3 สกุล ทั่วโลกพบเพียง 66 ชนิด เท่านั้น เช่น มะเมื่อย (Gnetum) มั่วอึ้ง (Ephedra)
เวลวิชเชีย (Welwitchia)
พวกแองจิโอสเปิร์ม (Angiosperm)
- เป็นพืชที่มีดอกและเมล็ดมีเครื่องหุ้มห่อ วึ่งถือว่ามีวิวัฒนาการสูงสุด
- มีจำนวนมากที่สุดประมาณ 235,000 ชนิด มีเพียงดิวิชันเดียว คือ ดิวิชันแอนโทไฟตา (Division Anthophyta)
ลักษณะสำคัญ
- มีดอกเป็นอวัยวะสืบพันธุ์และมีเมล็ดที่มีผนังรังไข่ห่อหุ้ม
- มีการปฏิสนธิซ้อน (double fertilization)
- สปอโรไฟต์มีขนาดใหญ่เด่นชัด ประกอบด้วยราก ลำต้นและใบที่แท้จริง ส่วนแกมีโตไฟต์มีขนาดเล็ก เจริญอยู่บนสปอโรไฟต์
- มีรากทำหน้าทีหลายแบบ เช่น
- รากสะสมอาหาร : - หัวผักกาด หัวมันเทศ มันสำปะหลัง ฯลฯ
- รากค้ำจุน : - ลำเจียก ข้าวโพด ฯลฯ
- รากเกาะ : - พลูด่าง พริกไทย ฯลฯ
- รากหายใจ : - แสม ลำพู ผักกระเฉด ฯลฯ
- มีลำต้นทำหน้าที่หลายแบบ เช่น
- ลำต้นปีนป่าย : - เถาวัลย์ บอระเพ็ด องุ่น ฯลฯ
- ลำต้นสะสมอาหาร : -
ไรโซม (rhizome) เช่น ขิง ข่า ขมิ้น พุทธรักษา
ทิวเบอร์ (tuber) เช่น หอม กระเทียม
คอร์ม (corms) เช่น เปือก แห้วจีน ซ่อนกลิ่นฝรั่ง
- มีใบทำหน้าที่ต่างกันหลายแบบ เช่น
- ใบสะสมอาหาร : - ว่านหางจระเข้ กะหล่ำปลี
- ใบดอก : - อุตพิต เฟื่องฟ้า คริสต์มาส
- ใบมือเกาะ : - ตำลึง มะระ
- ใบกับดักแมลง : - หม้อข้าวหม้อแกงลิง กาบหอยแครง
พืชดอกแบ่งออกเป็น 2 คลาส คือ
1. Class Monocotyledones ได้แก่ พืชใบเลี้ยงเดี่ยว พบแล้วประมาณ 65,000 ชนิด เช่น มะพร้าว ข้าว อ้อย หญ้า ฯลฯ
2. Class Dicotyledones ได้แก่ พืชใบเลี้ยงคู่ พบแล้วประมาณ 170,000 ชนิด เช่น มะเขือ ชบา กุหลาบ มะม่วง ฯลฯ

วันนี้เรามาศึกษาอาณาจักรสัตว์ ซึ่งมีรายละเอียดค่อนข้างมาก นักเรียนต้องพยายามจดจำสาระสำคัญในแต่ละไฟลัมไว้ใแม่ยำ
จะช่วยให้สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาโจทย์ได้ทุกรูปแบบ เนื้อหาสำคัญโดยสรุป มีดังนี้
อาณาจักรสัตว์
(Kingdom Animalia)
สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่สร้างอาหารเองไม่ได้ (heterotroph) มีการเคลื่อนที่เห็นได้ชัดเจนโดยอาศัย
การทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท นักชีววิทยาเชื่อว่าสัตว์มีวิ
วัฒนาการมาจากโพรทิสต์ (protis) ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีมากกว่า 1 ล้านชนิด สามารถจัดจำแนกออกได้ประมาณ 30 ไฟลัม
ซึ่งมีเกณฑ์ในการจำแนกโดยสรุป ดังนี้
- ดูจากสมมาตรของร่างกาย (symmenttry)
- ดูจากชั้นเนื้อเยื่อ (germ layer) ในระยะเอมบิโอ
- ดูจากแบบแผนการเกิดช่องว่างระหว่างผนังลำตัวกับอวัยวะภายใน (coelom)
- ดูจากแบบแผนการเจริญของไซโกตจนเป็นตัวเต็มวัย
- ดูความซับซ้อนของการทำงานของการทำงานของอวัยวะในร่างกาย
ในระดับมัธยมศึกษาจะกล่าวถึงเฉาะไฟลัมสำคัญเพียง 9 ไฟลัมเท่านั้น คือ
1. ไฟลัมฟอริเฟอรา (Phylum Porifera)
ลักษณะสำคัญ
- มีสมมาตรไม่แน่นอน (asymmentry)
- รูปร่างเป็นก้อน มีรูพรุนทั่วตัวเป็นทางน้ำเข้า (ostium) ส่วนทางน้ำออก (osculum) มีขนาดใหญ่กว่า
- ประกอบด้วยเซลล์หลายแบบอยู่เป็นกลุ่มไม่มีเนื้อเยื่อและอวัยวะ มีเซลล์ปลอกคอ (choanocyte) ทำหน้าที่จับอาหาร
- มีโครงสร้างค้ำจุนเป็นหินปูนหรือซิลิกา เรียกว่า spicule หรือเป็นเส้นใยโปรตีน เรียกว่า spongin fiber
- สืบพันธุ์โดยการแตกหน่อ (budding) หรือสร้างเจมมูล (gemmule)
ตัวอย่างเช่น ฟองน้ำ (sponge) พบทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็มแบ่งออกเป็น 4 class คือ
1. Class Calcarea เป็นฟองน้ำที่มี spicule เป็นสารพวกหินปูน จึงมีลักษณะแข็งและเปราะ พบทั่วไปตามชายฝั่ง เช่น ฟองน้ำหินปูน
2. Class Hexactinellida เป็นฟองน้ำที่มี spicule เป็นพวกสารซาลิกา พบเฉพาะในน้ำเค็มเท่านั้น เช่น ฟองน้ำแก้ว
3. Class Demospongiae เป็นฟองน้ำที่มี spicule เป็นเส้นใยโปรตีน พบมากที่สุดถึง 95% ของฟองน้ำทั้งหมด เช่น ฟองน้ำถูตัว ฟองน้ำน้ำจืด
4. Class Sclerospongiae เป็นฟองน้ำที่มี spicule เป็นทั้งหินปูน ซิลิกา และเส้นใยโปรตีน พบเกาะอยู่ตามปะการัง
2. ไฟลัมซีเลนเทอราตา (Phylum Coelenterata)
- มีสมมาตรแบบรัศ tentacleมี (radal symmetry)
- มีเนื้อเยื่อ 2 ชั้น และมีสารคล้ายวุ้น เรียกว่า mesoglea แทรกอยู่
- มีรูปร่าง 2 แบบ คือ polyp เกาะอยู่กับที่และ medusa ว่ายน้ำเป็นอิสระ
- มีช่องว่างในลำตัว (gastrovascular cavity) เป็นทางเดินอาหาร
- มีเซลล์ไนโดไซต์ (cnidocyte) บน tentacle และลำตัว ซึ่งภายในมีเข็มพิษ (nematocyst)
- มีปากและทวารหนักเปิดออกช่องเดียวกัน
- มีระบบประสาทแบบตาข่าย
- สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการแตกหน่อ
- หรือแบบอาศัยเพศก็ได้
- มีประมาณ 9,000 ชนิด แบ่งเป็น 3 Class คือ
1. Class Hydrozoa : - ไฮดรา , แมงกะพรุนน้ำจืด , โอบิเลีย
2. Class Scyphozoa : - แมงกะพรุนไฟ , แมงกะพรุนจาน
3. Class Anthozoa : - ปะการัง กัลปังหา ปากกาทะเล ดอกไม้ทะเล
- ไฮดรา (hydra) อยู่ในน้ำจืด มีรูปร่างแบบ polyp มี tentacle 6 เส้น รอบปาก เคลื่อนที่คล้ายการตีลังกา มี 2 เพศ
ในตัวเดียวกันจึงสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและแบบไม่อาศัยเพศ
- แมงกะพรุน (jelly fish) อยู่ในน้ำเค็มเป็นส่วนใหญ่ มีวงจรชีวิตแบบสลับ ตัวอ่อนมีรูปร่างแบบ polyp ตัวเต็มวัยมีรูปร่างแบบ medusa มีชั้นวุ้นหนามากช่วยในการลอยตัว มีเข็มพิษทำให้ผิวหนังระคายเคืองได้ มีเพศแยกกัน
- ปะการัง (coral) มีรูปร่างแบบ polyp อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีโครงร่างเป็นหินปูนห่อหุ้มภายนอก มีรูปร่างหลายแบบ เช่น
ปะการังเขากวาง ปะการังสมอง ปะการังเห็ด เป็นต้น
- กัลปังหา (sea fan) มีรูปร่างแบบ polyp อยู่รวมกันเป็นกลุ่มมีรูปร่างเป็นแผ่นแบนคล้ายพัด มีโครงร่างภายในเป็นสารสเกลอโรโปรตีน (scleroprotein)
3. ไฟลัมแพลตีเฮลมินเทส (Phylum Platyhelminthes) ลักษณะสำคัญ
- มีสมมาตรแบบ 2 ซีก (bilateral symnetry)
- มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น
- ลำตัวแบนตามแนวบน - ล่าง (dorsoventrally flattened)
- ผิวลำตัวอ่อนนิ่ม มีซิเลีย (cilia) ส่วนพวกปรสิตมี cuticle หนา
- ระบบทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์ คือ มีปาก แต่ไม่มีทวารหนัก
- ระบบขับถ่าย มีเฟลมเซลล์ (flame cell)
- มี 2 เพศในตัวเดียวกัน จึงมักสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
- มีประมาณ 13,000 ชนิด แบ่ง 3 class คือ
1. Class Turbellaria : - พลานาเรีย , หนอนหัวขวาน
2. Class Trematoda : - พยาธิใบไม้
3. Class Cestoda : - พยาธิตัวตืด
- พลานาเรีย (planaria) ดำรงชีวิตเป็นอิสระในแหล่งน้ำจืด ลำตัวนิ่มมีเมือกและซิเลียช่วยในการเคลื่อนที่ แลกเปลี่ยนก๊าซโดยการแพร่ สามารถสืบพันธุ์โดยการงอกใหม่ (regeneration) ได้
- พยาธิใบไม้ ดำรงชีวิตเป็นปรสิต รูปร่างคล้ายใบไม้ ลำตัวไม่เป็นปล้อง มี cuticle หนาในระยะตัวอ่อน มักอาศัยอยู่ในหอยน้ำจืด
ซึ่งเป็น intermediate มีหลายชนิด เช่น พยาธิใบไม้ในตับแกะ , พยาธิใบไม้ในปอด , พยาธิใบไม้ในเลือด , พยาธิใบไม้ในลำไส้ เป็นต้น
- พยาธิตัวตืด ดำรงชีวิตเป็นปรสิต รูปร่างแบนยางคล้ายริบบิ้น ลักษณะเป็นปล้องเฉพาะผิวนอก ผิวมี cuticle หนา
ไม่มีระบบทางเดินอาหารและอวัยวะรับความรู้สึกแต่ละปล้องมีอวัยวะสืบพันธุ์ครบทั้ง 2 เพศ มีหลายชนิด
4. ไฟลัมนีมาโตดา (Phylum Nematoda) ลักษณะสำคัญ
- มีสมมาตรแบบ 2 ซีก (bilateral sumentry)
- ลำตัวกลมหัวท้ายแหลมไม่มีระยางค์และข้อปล้อง ผิวมี cuticle
- มีระบบทางเดินอาหารสมบูรณ์
- มีต่อมเรเนตต์ (rentte gland) นำของเสียออกนอกร่างกาย
- มีเพศแยก ตัวผู้มักมีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย ไข่มีขนาดเล็กหุ้มด้วยสารไคทิน (chitin)
- มีประมาณ 12,000 ชนิด ดำรงชีวิตเป็นปรสิต เช่น พยาธิไส้เดือนตัวกลม , พยาธิเส้นด้าย , พยาธิแส้ม้า , พยาธิปากขอ , พยาธิตัวจี๊ด
นอกจากนี้ยังพบว่าบางชนิดดำรงชีวิตเป็นอิสระ เช่น ไส้เดือนฝอย หนอนในน้ำส้มสายชู
- พยาธิตัวจี๊ดมีกุ้ง , ไรน้ำเป็น intermediate host ลำดับแรก ส่วน ปลา กบ สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ปีกเป็น intermediate host
ลำดับที่สอง โดย สุนัข แมว เสือ เป็น host สุดท้าย สำหรับมนุษย์นั้นเป็น โฮสต์โดยบังเอิญ (accidental host)
ทำให้อวัยวะที่พยาธิชอนไชเข้าไปเกิดการอักเสบได้
5. ไฟลัมเอเนลิดา (Phylum Annelida) ลักษณะสำคัญ
- ลำตัวกลมเป็นปล้องคล้ายวงแหวนต่อกันจึงเรียกว่า หนอนปล้อง (segmented worm) โดยแต่ละปล้องมีเดือย (setae)
หรือแผ่นขา (parapodium) ช่วยในการเคลื่อนที่
- มีช่องลำตัวที่แท้จริง (coelomates)
- ผิวหนังมี cuticle บาง ๆ และมีต่อมสร้างเมือกทำให้ชุ่มชื้นเสมอ
- มีระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิด
- ระบบขับถ่ายมีเนฟริเดียม (nephridium) ปล้องละ 1 คู่
- ระบบสืบพันธุ์มีทั้งแยกเพศและไม่แยกเพศ แต่มีการผสมข้ามตัวกัน เพราะเซลล์สืบพันธุ์เจริญไม่พร้อมกัน
- มีประมาณ 8,700 ชนิด แบ่งเป็น 3 คลาส คือ
1. Class Polychaeta : - แม่เพรียง
2. Class Oligochaeta : - ไส้เดือนดิน
3. Class Hirudinea : - ปลิงน้ำจืด
6. ไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda) ลักษณะสำคัญ
- มีลำตัวปล้อง แบ่งเป็น หัว อก และท้อง มีระยางค์เป็นข้อปล้อง โดยมาก 1 ปล้องมีระยางค์ 1 คู่ จึงเรียกว่า สัตว์ขาข้อ
- มีโครงร่างแข็งภายนอก (expskeleton) เป็นสารไคทิน (chitin) และมีการลอกคราบ (molting หรือ ecdysis) เป็นระยะ ๆ
เพื่อขยายขนาด
- มีระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิด
- มีระบบทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์
- มีหนวด (antenna) และขนรับความรู้สึก
- มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น และมีสมมาตรแบบ 2 ซีก
- มีปริมาณมากที่สุดในโลก ประมาณ 800,000 - 1,000,000 ชนิด แบ่งเป็นหลายกลุ่มที่ควรรู้จัก ได้แก่
1. Subphylum Trilobitomorpha : - ไทรโลไบต์ (trilobite) ซึ่งสูญพันธุ์แล้ว
2. Subphylum Chelicerata ที่ควรรู้จัก ได้แก่
2.1 Class Merostomata : - แมงดาทะเล
2.2 Class Arachnida : - แมงมุม , แมงป่อง , เห็บ , ไร
3. Subphylum Crustacea ที่ควรรู้จัก ได้แก่
3.1 Class Branchiopoda : - ไรน้ำ , ไรแดง , ไรสีน้ำตาล
3.2 Class Copepoda : - เหาปลา , โคพีพอด (copepod)
3.3 Class Cirripedia : - เพรียงคอห่าน , เพรียงหิน
3.4 Class Malacostraca : - กุ้ง , ตั๊กแตน , ปู , จักจั่นทะเล , เคอย
4. Subphylum Uniramia ที่ควรรู้จัก ได้แก่
4.1 Class Chilopoda : - ตะขาบ
4.2 Class Symphyla : - ตะขาบฝอย
4.3 Class Diplopoda : - กิ้งกือ
4.4 Class Insecta : - ผีเสื้อ

7. ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca) ลักษณะสำคัญ
- มีลำตัวอ่อนนุ่มและสั้น ด้านหน้าเป็นหัว ด้านล่างเป็นแผ่นเท้าใช้เคลื่อนที่ขุดฝังตัวและว่ายน้ำ ด้านบนคลุมด้วย mantle
ซึ่งเป็นเยื่อที่สร้างเปลือกแข็งพวกหินปูนหุ้มตัว
- มีระบบทางเดินอาหารสมบูรณ์
- มีระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรเปิด หัวใจมี 1 - 2 atrium และ 1- 2 ventricle
- หายใจโดยการใช้เหงือกหรือปอดและใช้เมนทิลหรือผิวหนังช่วยแลกเปลี่ยนก๊าซ
- ระบบขับถ่ายใช้ เนฟริเดียม
- ระบบสืบพันธุ์ส่วนใหญ่แยกเพศ มีการปฏิสนธิทั้งภายในและภานอก มักออกลูกเป็นไข่
- ที่รู้จักแล้วมีประมาณ 100,000 ชนิด แบ่งเป็นหลายคลาส ที่สำคัญควรรู้จัก ได้แก่
1. Class gastropoda : - หอยฝาเดียวทั้งหลาย เช่น หอยโข่ง หอยทาก หอยสังข์ หอยเชอรี่ ทากบก ทากเปลือย ฯลฯ
2. Class Polyplacophora : - ลิ่นทะเล
3. Class Bivalvia :- หอยสองฝาทั้งหลาย เช่น หอยแครง หอยแมลงภู่ หอยลาย หอยนางรม หอยมือเสือ ฯลฯ
4. Class Scaphopoda : - หอยงาช้าง
5. Class Cephalopoda : - หมึก , หอยงวงช้าง
- หอยฝาเดียว มีเปลือกแข็งชิ้นเดียวขดเป็นวงคล้ายเจดีย์ มีแผ่นแข็ง (operculum) ปิดเปิด มีการปฏิสนธิภายใน
- หอยสองฝา มีเปลือกแข็ง 2 ฝา ยึดติดกัน โดยเอ็นคล้ายบานพับ หัวมีขนาดเล็กมากไม่มีเรดูลา (radula) มีการปฏิสนธิภายนอก
- หมึก มีแผ่นแบนใส ซึ่งเป็นสารไคทินภายในลำตัว เรียกว่า เพน (pen) และมีครีบช่วยในการเคลื่อนที่ มีการจับคู่ผสมพันธุ์ (copulation) มีตาขนาดใหญ่เจริญดี
8. ไฟลัมเอโคไนเดอมาตา (phylum Echinodermata) ลักษณะสำคัญ
- เป็นสัตว์น้ำเค็มทั้งหมด โครงสร้างภายในเป็นหินปูนยึดติดกัน มีผิวหยาบขรุขระหรือมีหนาม
- ระยะตัวอ่อนมีสมมาตรแบบครึ่งซีกระยะเต็มตัววัยมีสมมาตรแบบรัศมี เป็น 5 แฉก หรือทวีคูณของ 5 ไม่เห็นส่วนหัวหรือท้ายชัดเจน ปากอยู่ติดพื้น ทวารหนักอยู่ตรงกันข้าม
- มีระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิด
- มีระบบหมุนเวียนน้ำในท่อขา (tube feet) ช่วยเคลื่อนไหวและจับอาหาร
- ระบบสืบพันธุ์แยกเพศกัน มีการปฏิสนธิภายนอก อาจสืบพันธุ์โดยการงอกใหม่ (regeneratio) ได้
- มีประมาณ 6,000 ชนิด ที่ควรรู้จักมีหลายคลาส ได้แก่
1. Class Asteroidea :- ดาวทะเล
2. Class Ophiuroidea :- ดาวเปราะ
3. Class Echioidea :- เม่นทะเล , เหรียญทะเล
4. Class Holothuroidea :- ปลิงทะเล
5. Class Crinoidea :- ดาวขนนก , พลับพลึง
- ดาวทะเลมีรูปร่างเป็น 5 แฉก มีท่อขาช่วยเคลื่อนที่ มีการปฏิสนธิภายนอก มักกินปะการัง ปลา และหอยเป็นอาหาร
- ปลิงทะเล มีลำตัวนิ่มยาวสีดำหรือคล้ำ สร้างเมือกหรือใยเหนียวสีขาวออกมาเกาะติดศัตรูได้ หายใจโดยใช้ respiratory tree
- เม่นทะเล ลำตัวไม่มีแขนยื่นออกไปแต่มีหนามแหลมใช้ป้องกันตัว มีอวัยวะช่วยฉักกัดอาหาร เรียกว่า Aristotle's lantrtern
9. ไฟลัมคอร์ดาตา (Phylum Chordata) ลักษณะสำคัญ
- มีโนโทคอร์ (notochod) ในระยะหนึ่งของชีวิต โดยมี ไขสันหลัง เป็นหลอดยาวกลวงอยู่ด้านหลัง
- มีอวัยวะแลกเปลี่ยนก๊าซที่บริเวณคอหอย โดยระยะตัวอ่อนมีช่องเหงือก และอาจเปลี่ยนแปลงไปเมื่อโตเต็มวัย
- มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น มีช่องว่างในลำตัวอย่างแท้จริง
- มีระบบไหลเวียนเลือดแบบปิดหรือเปิด
- รู้จักแล้วประมาณ 43,000 ชนิด ที่สำคัญควรรู้จัก ได้แก่
1. Subphylum Urochordata : มีโนโทคอร์ดที่ลำตัวเล็กน้อย มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีสารพวกเซลลูโลสปกคลุมตัว
มีระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิด ไม่แยกเพศ เช่น เพรียงหัวหอม เพรียงสาย เพรียงลอย
2. Subphylum Cephalochodata : มีโนโทคอร์ดตลอดชีวิต มีลำตัวยาว หัวท้ายแหลม ไม่มีสมอง ลำตัวเป็นปล้อง
มักฝังตัวตามพื้นทราย เช่น แอมฟออกซัส (am phioxus)
3. Subphylum Vertebrata : มีโนโทคอร์ดไม่ยื่นถึงจมูก มีกระโหลก กระดูกสันหลัง และระยางค์ 2 คู่ เป็นส่วนใหญ่ แบ่งออกเป็น
3.1 Supercrclass Pisces : เป็นสัตว์น้ำหายใจด้วยเหงือก มีครีบในการเคลื่อนไหวและทรงตัว มีหัวใจ 2 ห้อง มีผิวหนังหรือเกล็ดคลุมลำตัว
มีเส้นข้างตัว (ateral line) รับความสั่นสะเทือน ได้แก่
- Class Cyclostomata :- ปากปลาฉลาม (hagfish และ lamprey)
- Class Chondrichthys : - ปลากระดูกอ่อน (ปลาฉลาม ปลากระเบน ปลาฉนาก ปลาโรนัน ฯลฯ)
- Class Chondrichthyes :- ปลากระดูกแข็ง เช่น ปลาช่อน ปลาดุก ปลากัด ปลาตะเพียน ปลามีปอด (lung fish)
และปลาซีลาแคนท์ (coelacanth) ฯลฯ
3.2 Superclass Tetrapoda : มักเป็นสัตว์ที่มีระยางค์ในการเคลื่อนไหว 2 คู่ แต่อาจลดรูปไปก็ได้ หายใจด้วยปอด
หัวใจมี 3 - 4 ห้อง ได้แก่
- Class Amphibia : - สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบ เขียด ปาด คางคก อึ่งอ่าง จงโคร่ง ซาลามานเดอร์ งูดิน ฯลฯ
- Class Reptilia : - สัตว์เลื้อยคลาน เช่น งู เต่า ตุ๊กแก กิ้งก่า จระเข้ จิ้งเหลน ตะกวด ฯลฯ
- Class Aves : - สัตว์ปีก เช่น นก ไก่ เป็ด ห่าน ฯลฯ
- Class Mammalia : - สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น มนุษย์ ลิง ตุ่นปากเป็ด ตัวกินมด
จิงโจ้ ค้างคาว พะยูน โลมา แมวน้ำ สิงโตทะเล ฯลฯ
 แบบทดสอบความรู้ ตอนที่ 1
1.ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้จัดจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็น ............. อาณาจักรได้แก่ อะไรบ้าง
2.การจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตอาศัยหลักแนวคิดของ
3.แบคทีเรียอยู่ร่วมในอาณาจักรเดียวกับ
4.รงควัตถุของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน อยู่ใน
5.จงบอกลักษณะสำคัญของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน มา 2 ข้อ
6.จงอธิบายรูปร่างของแบคทีเรีย แบ่งได้กี่ชนิด อะไรบ้าง
7.แบคทีเรียแกรมบวก ได้แก่พวก
8. แบคทีเรียแกรมลบ ได้แก่
9.เหตุผลในการสร้างเอนโดสปอร์ของแบคทีเรีย
10. จงบอกหลักเกณฑ์ในการจำแนกสาหร่ายออกเป็น 7 ดิวิชัน มา 3 ข้อ
11.วอเตอร์ บลูม ( WATER BLOOM ) คืออะไร
12. จงยกตัวอย่างสิ่งมีชีวิตที่เป็นทั้งพืชและสัตว์
13. ลักษณะสำคัญของแคโรไฟตาคล้ายพืชชั้นสูงมากและแตกต่างจากสาหร่ายทุกชนิดคือ
14. กรดแอลจินิก พบได้ในสาหร่าย
15. กรดแอลจินิก นำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม เช่นอะไรบ้าง บอกมา 3 ข้อ
16. สาหร่ายชนิดใดที่ใช้เป็นอาหาร
17.สารที่สกัดจากสาหร่ายสีแดงนำไปใช้ประโยชน์ใด
18. ราเมือกมีรูปร่างคล้ายสิ่งมีชีวิตใด
19. อบีบาเคลื่อนที่โดยวิธีใด
20. พลาสโมเดียมมีการเคลื่อนที่โดยวิธีใด
21. พารามีเซียมมีการเคลื่อนที่โดยวิธีใด
22. ไลเคนส์เป็นการอยู่รวมกันของสิ่งมีชีวิตใด
23. เห็ดโคนอยู่คลาสเดียวกับสิ่งมีชีวิตใด
24. จงยกตัวอย่างของดิวิชันไบรออฟไฟตา มา 2 ชนิด
25. จงยกตัวอย่างซับดิวิชันซิลอพซิดา
26. จงยกตัวอย่างซับดิวิชันไลคอพซิดา
27. จงยกตัวอย่างซับดิวิชันสฟีนอพซิดา
28. จงยกตัวอย่างซับดิวิชันเทอรอพซิดา
29.หญ้ารังไก่อยู่จำพวกเดียวกับพืชชนิดใด
30. พวกเฟิร์นต่าง ๆ อยู่ในคลาสใด
31. สน ปรง แป๊ะก๊วย อยู่ในคลาสใด
32. พวกไม้ดอกต่าง ๆ อยู่ในคลาสใด
33. จงบอกข้อแตกต่างของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวกับใบเลี้ยงคู่ มา 5 ข้อ
34. จงบอกข้อแตกต่างของจิมโนสเปิร์มกับแองจิโอสเปิร์ม มา 5 ข้อ
35. ฟองน้ำอยู่ในไฟลัม
36. ไฮดราอยู่ในคลาสเดียวกับสิ่งมีชีวิตใด
37. ปะการังอยู่ในคลาสเดียวกับสิ่งมีชีวิตใด
38. พยาธิใบไม้ในตับอยู่ในไฟลัมเดียวกับสิ่งมีชีวิตใด
39. หนอนตัวกลมอยู่ในไฟลัมใด
40. สิ่งมีชีวิตในไฟลัมใดที่มีสมาชิกเป็นสัตว์ทะเลทั้งสิ้น
41. หอยงวงช้างอยู่คลาสเดียวกับสิ่งมีชีวิตใด
42. หอยแครงอยู่คลาสใด
43. หอยทากอยู่คลาสเดียวกับสิ่งมีชีวิตใด
44. สัตว์ในไฟลัมใดที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุด
45.จงบอกลักษณะสำคัญของไฟลัมอาร์โทรโปดา
46. แมงมุม แมงป่อง อยู่ในคลาสเดียวกับสิ่งมีชีวิตใด
47. ปู ไรน้ำ อยู่ในคลาสเดียวกับสิ่งมีชีวิตใด
48. ริ้น เรือด เหา แมลงสาบ อยู่ในคลาส
49. จงยกตัวอย่างสิ่งมีชีวิตใน ซับไฟลัม เฮมิคอร์ดาตา
50. จงยกตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในซับไฟลัม ยูโรคอร์ดาตา
51. จงยกตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในซับไฟลัม ซีฟาโลคอร์ดาตา
52. ปลาฉลาม ปลากระเบน อยู่ในคลาส
53. ปลาทู ปลาจาระเม็ด อยู่ในคลาส
54. งูดิน อยู่ในคลาสเดียวกับสิ่งมีชีวิตใด
55. เต่า จระเข้ อยู่ในคลาส
56. จงบอกลักษณะสำคัญของคลาสแมมมาเลีย มา 3 ข้อ
57.สิ่งมีชีวิตใดที่ออกลูกเป็นไข่แต่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
58. หมีโคอาลา วอมแบต จัดเป็นสิ่งมีชีวิตพวกเดียวกับ
59. ตัวอย่างสัตว์ที่อยู่ในออร์เดอร์ลาโกมอร์ฟา
60.สิงโตทะเล แมวน้ำ อยู่ในออร์เดอร์เดียวกับสิ่งมีชีวิตใดบ้าง

 ข้อมูลทั้งหมดอ้างอิงจาก    ศรายุทธ วุฒิเสน