ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

ทฤษฎีปีทาโกรัส

ทาโกรัส นักคณิตศาสตร์ชาวกรีกค้นพบว่า ด้านตรงข้ามมุมฉากของสามเหลี่ยมมุมฉากนั้นหากวาดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสแล้ว  พื้นที่จะเท่ากับด้านประกอบมุมฉาก ซึ่งวาดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตตุรัส ทั้ง2ด้านรวมกัน
จากรูป abc เป็นสามเหลี่ยมมุมฉาก มี a เป็นด้านตรงข้ามมุม A มี b เป็นด้านตรงข้ามมุม B และมี c เป็นด้านตรงข้ามมุม C จากทฤษฏีบทปิทาโกรัสจะสรุปได้ว่า
c2 = a2+b2
แต่ถ้าหากไม่ใช่ละก็ ให้ดูว่า c มากหรือน้อย หาก c2 น้อยกว่า a2+b2 แสดงว่าเป็นมุมแหลม หากมากกว่า เป็นมุมป้าน แต่ถ้า c=a+b เป็นเส้นตรง
การนำไปใช้นั้นแค่แทนค่าที่หายไปและทำสมการได้เลย
ขอบคุณ  www.thaigoodview.com/library/

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

สารและสมบัติของสาร

การจำแนกสารและสมบัติของสาร

สสาร (matter) คือ สิ่งที่มีมวลต้องการที่อยู่ และสามารถสัมผัสได้ หรืออาจหมายถึงสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา มีตัวตน ต้องการที่อยู่ สัมผัสได้ มองเห็น หรือมองไม่เห็นก็ได้ เช่น อากาศ เป็นต้น นักวิทยาศาสตร์ได้เรียกสสารที่รู้จักว่า สาร

สาร (substance) คือ สสารที่ศึกษาค้นคว้าจนทราบสมบัติ และองค์ประกอบที่แน่นอน ซึ่งก็คือเนื้อของสสารนั่นเอง

สมบัติของสาร

สารแต่ละชนิดมีลักษณะบางประการที่คล้ายคลึงกันจึงจัดเป็นสมบัติทั่วไปของสาร เช่น โลหะและอโลหะ เป็นต้น สารทุกชนิดมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างจากสารอื่น จัดเป็นสมบัติเฉพาะตัวที่ใช้ระบุชนิดของสารนั้นๆ ได้ เช่น จุดเดือด จุดหลอมเหลว ความหนาแน่น ความเป็นกรด-เบส รูปผลึก เป็นต้น

นักวิทยาศาสตร์ได้แบ่งสมบัติของสารออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. สมบัติทางกายภาพ หมายถึง สมบัติของสารที่สามารถสังเกตได้จากลักษณะภายนอก หรือจากการทดลองที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี เช่น สถานะ เนื้อสาร รูปร่าง สี กลิ่น รส ความหนาแน่น จุดเดือด จุดหลอมเหลว การนำไฟฟ้า การละลายน้ำ ความแข็ง ความเหนียว เป็นต้น
  2. สมบัติทางเคมี (chemical properties) หมายถึง สมบัติที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีและองค์ประกอบทางเคมีของสาร เช่น การติดไฟ การผุกร่อน การทำปฏิกิริยากับน้ำ การทำปฏิกิริยากับกรดหรือเบส เป็นต้น
ปฏิกิริยาเคมี คือ การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดสารใหม่

 

ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงของสารแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ


  1. การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับสมบัติทางกายภาพของสาร เช่น การเปลี่ยนสถานะ การละลายน้ำ การหลอมเหลว และการเดือด เป็นต้น "การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพจะต้องไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีและไม่มีสารใหม่เกิดขึ้น" หลังจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพสมบัติ ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ได้แก่

    การระเหิดของลูกเหม็นเป็นการเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นไอ
    การละลายน้ำของเกลือแกงเป็นการเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นสารละลาย
    การระเหยของน้ำ เป็นการเปลี่ยนแปลงสถานะจากของเหลวเป็นไอ

     
  2. การเปลี่ยนแปลงทางเคมี หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี "หลังจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมี จะต้องมีสารใหม่เกิดขึ้นเสมอ" สารใหม่ที่เกิดขึ้นนี้จะมีองค์ประกอบและสมบัติทางเคมีแตกต่างจากสารเดิม ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ได้แก่

    โลหะโซเดียมทำปฏิกิริยากับน้ำ
    ได้สารใหม่ คือ
    โซเดียมไฮดรอกไซด์ และก๊าซไฮโดรเจน
    การเผาไหม้ของลูกเหม็น
    ได้สารใหม่ คือ
    ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ
    การเกิดสนิมเหล็ก
    ได้สารใหม่ คือ
    ออกไซด์ของเหล็ก
    การเผาไหม้ของไม้
    ได้สารใหม่ คือ
    น้ำ และ คาร์บอนไดออกไซด์
โดยทั่วๆ ไปการเปลี่ยนแปลงของสารสามารถมีทั้งการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและการเปลี่ยนแปลงทางเคมีควบคู่กันไป

ข้อเปรียบเทียบระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพกับทางเคมี



การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
การเปลี่ยนแปลงทางเคมี
  1. ไม่เกิดปฏิกิริยาเคมี
  2. ไม่มีสารใหม่เกิดขึ้น
  3. ภายหลังการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบและสมบัติทางเคมีของสารจะเหมือนเดิม แต่รูปร่างภายนอกอาจแตกต่างจากเดิม
  4. ทำให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้ง่าย
  1. เกิดปฏิกิริยาเคมี
  2. มีสารใหม่เกิดขึ้น
  3. ภายหลังการเปลี่ยนแปลงสารใหม่ที่ได้จะมีองค์ประกอบและสมบัติทางเคมีแตกต่างจากเดิม
  4. ทำให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้ยาก


สถานะของสาร

นักวิทยาศาสตร์ได้จำแนกสถานะของสารออกเป็น 3 สถานะ คือ


  1. ของแข็ง (solid) หมายถึง สารที่มีลักษณะรูปร่างไม่เปลี่ยนแปลง และมีรูปทรงเฉพาะตัว เนื่องจากอนุภาคในของแข็งจัดเรียงตัวชิดติดกันและอัดแน่นอย่างเป็นระเบียบ ไม่มีการเคลื่อนที่ แต่มีการสั่นได้อย่างเบาๆ หรือเคลื่อนไหวได้เล็กน้อย ไม่สามารถทะลุผ่านได้ และไม่สามารถบีบอัดให้มีขนาดเล็กลงได้ เช่น ไม้ เหล็ก ทองคำ หิน ดิน เป็นต้น

     
  2. ของเหลว (liquid) หมายถึง สารที่มีลักษณะไหลได้มีขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน เนื่องจากโมเลกุลยึดเหนี่ยวกันอย่างหลวมๆ มีรูปร่างเปลี่ยนไปตามภาชนะที่ใส่ ปริมาตรเปลี่ยนแปลงเมื่อได้รับแรงกดดันและอุณหภูมิ มีการแพร่ เช่น ปรอท น้ำ ฯลฯ

     
  3. ก๊าซ (gas) หมายถึง สารหรือสสารที่มีขนาดรูปร่างไม่แน่นอน มีลักษณะฟุ้งกระจายเต็มภาชนะที่บรรจุ อยู่อย่างอิสระ เนื่องจากโมเลกุลยึดเหนี่ยวกันน้อยมาก อนุภาคไม่ยึดติดกันจึงสามารถเคลื่อนที่ได้ในระยะใกล้ๆ และมีแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน เปลี่ยนแปลงรูปร่างตามภาชนะ ปริมาตรเปลี่ยนแปลงเมื่อได้รับแรงกดดันและอุณหภูมิสูง มีการแพร่ เช่น ไฮโดรเจน ฮีเลียม ฯลฯ
การเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร

การเปลี่ยนแปลงสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว เช่น การเปลี่ยนแปลงของน้ำแข็งที่ใส่แก้วทิ้งไว้ น้ำแข็งจะค่อยๆ หลอมเหลวกลายเป็นน้ำ ซึ่งเราเรียกอีกอย่างว่า การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ไม่มีสารเกิดขึ้นใหม่ น้ำแข็งที่กลายเป็นน้ำ ยังคงมีองค์ประกอบทางเคมีเหมือนเดิม


  1. การเปลี่ยนสถานะของสารจากของแข็งเป็นของเหลว เนื่องจากได้รับความร้อนทำให้อนุภาคมีพลังงานจลน์ (ได้จากการเคลื่อนที่) เกิดการเคลื่อนไหวเร็วขึ้นมีการถ่ายเทพลังงานจลน์ให้กันและกันเมื่อถึงจุดจุดหนึ่งโมเลกุลก็จะเคลื่อนที่ห่างออกจากกัน แรงยึดเหนี่ยวน้อยลง เรียกว่า การละลาย การหลอมเหลว หรือ การหลอมละลาย
     
  2. การเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นก๊าซ เกิดจากอนุภาคได้รับความร้อนพลังงานจลน์เพิ่มขึ้นอนุภาคห่างกัน จนไม่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกัน เรียกว่า การระเหย
     
  3. การเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นก๊าซ เกิดจากอนุภาคได้รับความร้อนสูง จนแรงยึดเหนี่ยวหลุดจากกัน เรียกว่า การระเหิด
ดังนั้น สารต่างๆ สามารถเปลี่ยนแปลงจากสถานะหนึ่งไปอีกสถานะหนึ่งได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ และความดันของสาร ความแตกต่างระหว่างสถานะ ขึ้นอยู่กับอนุภาคของสารนั้นว่าจะสามารถเคลื่อนที่หรือถูกยึดติดกันได้มากน้อยเพียงใด

พลังงานความร้อนทำให้สารเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว และจากของเหลวเป็นแก๊ส ขณะที่สารเปลี่ยนสถานะจากของเหลว เรียกว่า การหลอมเหลว อุณหภูมิของสารจะคงที่ เรียกว่า จุดหลอมเหลวของสาร กระทั่งการหลอมเหลวหมด ถ้าให้ความร้อนต่อไป อุณหภูมิของของเหลวจะเพิ่มขึ้นจนถึงอุณหภูมิหนึ่งของเหลวจะเดือด อุณหภูมิของของเหลวจะคงที่อีกครั้ง ซึ่งเรียกว่า จุดเดือดของสาร ที่ภาวะนี้ของเหลวจะกลายเป็นไอหรือก๊าซ อุณหภูมิของสารจะคงที่จนกระทั่งของเหลวกลายเป็นไอหมด

อนุภาคของสาร

จอห์น ดอลตัน (John Dalton) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้เสนอแนวคิดว่า "อนุภาคที่เล็กที่สุดของสาร ซึ่งไม่สามารถแบ่งย่อยให้เล็กลงได้อีก เรียกว่า อะตอม" ต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาเกี่ยวกับอะตอมและอนุภาคของสาร กระทั่งได้ทราบว่า อนุภาคของสารที่สำคัญมี 3 ชนิด คือ อะตอม โมเลกุล และไอออน

อะตอม (atom) เป็นอนุภาคที่เล็กที่สุดของสารที่อยู่ตามลำพังได้ยาก ซึ่งอะตอมมักจะอยู่รวมกันเป็นอนุภาคที่ใหญ่ขึ้น เรียกว่า โมเลกุล หรืออะตอมอาจรวมกันเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ เรียกว่า โครงผลึก หรือผลึก เช่น เช่น อะตอมของคาร์บอน (C) อะตอมของออกซิเจน (O) รวมกันเป็นโมเลกุลของก๊าซออกซิเจน (O2) เป็นต้น

โมเลกุล (molecule) เป็นอนุภาคของสารที่เล็กที่สุดที่สามารถอยู่ในธรรมชาติได้อย่างอิสระ โมเลกุลเกิดจากอะตอมตั้งแต่ 2 อะตอมขึ้นไปมารวมกัน ในทางเคมีจะเขียนแทนโมเลกุลด้วยสัญลักษณ์ของอะตอมที่มารวมกันเรียกว่า สูตรเคมี


 


ตาราง : แสดงตัวอย่างโมเลกุลของสารบางชนิดที่ควรรู้จัก

ไอออน (Ion) คือ อะตอมหรือ กลุ่มอะตอมที่มีประจุไฟฟ้า มี 2 ชนิดคือ ไอออนบวก และไอออนลบ เช่น H – (ไฮโดรเจนไอออน) เป็นต้น

การจำแนกประเภทของสาร

สมบัติของสารบางประเภทจำเป็นต้องแบ่งสารออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายในการจำ โดยทั่วไปนิยมใช้สมบัติทางกายภาพด้านใดด้านหนึ่งของสารเป็นเกณฑ์ในการจำแนกสาร

เกณฑ์ในการจำแนกสาร คือ เงื่อนไขที่ใช้ในการจัดกลุ่มสาร ซึ่งมีเกณฑ์ดังนี้


  1. ใช้สถานะของสารเป็นเกณฑ์ มี 3 สถานะ คือ

    • ของแข็ง เช่น ไม้ เหล็ก หิน ทราย ทองแดง เงิน ดีบุก ด่างทับทิม สังกะสี เป็นต้น
       
    • ของเหลว เช่น น้ำ น้ำเกลือ น้ำเชื่อม น้ำอัดลม เอทานอล น้ำกลั่น เป็นต้น
       
    • ก๊าซ เช่น ก๊าซหุงต้ม แก๊สธรรมชาติ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น

     
  2. ใช้ความเป็นโลหะเป็นเกณฑ์ แบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ

    • โลหะ เช่น ทองคำ ทองแดง เงิน เหล็ก ปรอท เป็นต้น
       
    • อโลหะ เช่น คาร์บอน ฟอสฟอรัส กำมะถัน ออกซิเจน ไนโตรเจน เป็นต้น
       
    • กึ่งโลหะ เช่น ซิลิกอน ซิลิเนียม เจอร์มิเนียม อาร์เซนิก เป็นต้น

     
  3. ใช้สารละลายน้ำเป็นเกณฑ์ แบ่งได้ เป็น 2 กลุ่ม คือ

    • สารที่ละลายน้ำ เช่น เกลือแกง น้ำตาลทราย น้ำตาลกลูโคส จุนสี ด่างทับทิม เอทานอล แก๊สแอมโมเนีย กรดแอซิติก เป็นต้น
       
    • สารที่ไม่ละลายน้ำ เช่น แป้ง หินปูน ไขมัน น้ำมันพืช พลาสติก เหล็ก ไม้ กำมะถัน
      เป็นต้น
    นักวิทยาศาสตร์นิยมใช้ลักษณะเนื้อสารเป็นเกณฑ์ในการแบ่งประเภทของสาร ซึ่งสามารถแบ่งจำแนกสารได้ ดังนี้


    แผนผัง : แสดงการจัดจำแนกสารโดยใช้ลักษณะเนื้อสารเป็นเกณฑ์

    การใช้ลักษณะของเนื้อสารเป็นเกณฑ์นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น สารเนื้อเดียวและสารเนื้อผสม

    สารเนื้อผสม (heterogeneous mixture) คือ สารที่มีลักษณะของเนื้อสารคละกันไม่ผสมกลมกลือนเป็นเนื้อเดียวกัน และมีอัตราส่วนของสารที่ผสมไม่เท่ากันทุกส่วน เช่น น้ำในคลองมีเศษหิน ดิน ทราย และอื่นๆ ปนอยู่ในน้ำ มองเห็นได้อย่างชัดเจน

    สารเนื้อเดียว (homogeneous substance) คือ สารที่มีลักษณะของเนื้อสารผสมกลมกลืนกันเป็นเนื้อเดียว และมีอัตราส่วนของผสมเท่ากันทุกส่วน ถ้านำส่วนใดส่วนหนึ่งของสารเนื้อเดียวไปทดสอบจะมีสมบัติเหมือนกันทุกประการ สารเนื้อเดียวบางชนิดประกอบด้วยสารชนิดเดียว เช่น น้ำกลั่น ซึ่งหมายถึง น้ำบริสุทธิ์ที่ไม่มีสิ่งเจือปน เป็นต้น แต่สารเนื้อเดียวบางชนิดประกอบด้วยสารมากกว่ากว่าหนึ่งชนิด เช่น น้ำเกลือ เกิดจาก การนำเกลือไปละลายในน้ำ น้ำเกลือจึงเป็นสารเนื้อเดียวที่ประกอบด้วย น้ำและเกลือแกง เป็นต้น

    ในสารเนื้อเดียวแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ สารบริสุทธิ์ และสารละลาย

    สารบริสุทธิ์ หมายถึง สารเนื้อเดียวที่ประกอบไปด้วยสารเพียงชนิดเดียวไม่มีสารอื่นเจือปน เช่น


    • น้ำกลั่น (H2O) ประกอบด้วยโมเลกุลของน้ำเพียงอย่างเดียว
       
    • น้ำตาลกลูโคส (C6H12O6) ประกอบด้วยโมเลกุลของกลูโคสเพียงอย่างเดียว
       
    • ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ประกอบด้วยโมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์เพียงอย่างเดียว
    น้องๆ จะเห็นว่าสารบริสุทธิ์แต่ละชนิดมีองค์ประกอบต่างกัน บางชนิดประกอบด้วยอะตอมเพียงชนิดเดียวเรียกว่า ธาตุ แต่สารบริสุทธิ์บางชนิดประกอบด้วยอะตอมต่างชนิดกันเรียกว่า สารประกอบ

    ธาตุ (element) เป็นสารบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วยอะตอมเพียงชนิดเดียว ธาตุจึงเป็นสารที่ไม่สามารถแบ่งย่อยลงไปได้อีก เช่น เงิน ทอง คาร์บอน ออกซิเจน เป็นต้น ในปัจจุบันมีการค้นคว้าพบธาตุประมาณ 107 ธาตุ เป็นธาตุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ 92 ธาตุ ที่เหลือเป็นธาตุที่สังเคราะห์ขึ้นในห้องทดลอง ธาตุจำแนกออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้


    1. โลหะ มีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิปกติ ยกเว้นปรอทที่เป็นโลหะแต่อยู่ในสถานะของเหลว โลหะจะมีผิวเป็นมันวาว มีจุดเดือดสูง และนำไฟฟ้าได้ดี โลหะบางชนิดเป็นสารแม่เหล็ก ตัวอย่างของธาตุโลหะ เช่น เหล็ก ทองแดง สังกะสี แมกนีเซียม เป็นต้น
       
    2. อโหะ เป็นได้ทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ เช่น กำมะถันเป็นของแข็งสีเหลือง ธาตุโบรมีนเป็นของเหลวสีแดง และคลอรีนเป็นก๊าซสีเขียวอ่อน อโลหะส่วนใหญ่มีสมบัติตรงข้ามกับโลหะ เช่น เปราะ ไม่นำไฟฟ้า มีจุดเดือดต่ำ
       
    3. ธาตุกึ่งโลหะ เป็นธาตุที่มีสมบัติกึ่งโลหะและอโลหะ เช่น โบรอนเป็นของแข็งสีดำ เปราะ ไม่นำไฟฟ้า มีจุดเดือดสูงถึง 4,000 องศาเซลเซียล ธาตุซิลิคอน เป็นของแข็งสีมันวาว เปราะ นำไฟฟ้าได้เล็กน้อย มีจุดเดือด 3,265 องศาเซลเซียล
     

    สารประกอบ (compound) คือ สารที่ประกอบด้วยธาตุตั้งแต่ 2 ชนิด ขึ้นไป มาทำปฏิกิริยาเคมีกันด้วยสัดส่วนที่แน่นอน กลายเป็นสารชนิดใหม่ มีสมบัติแตกต่างไปจากธาตุที่เป็นองค์ประกอบเดิม ตัวอย่างของสารประกอบ เช่น เกลือแกง น้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ แอมโมเนีย เป็นต้น เช่น แอมโมเนียเป็นสารประกอบที่เกิดจากธาตุไนโตรเจน 1 อะตอม และธาตุไฮโดรเจน 3 อะตอม รวมกันเป็นโมเลกุล NH3 ซึ่งมี 4 อะตอมใน 1 โมเลกุล


     

    สารละลาย (solution) คือ สารเนื้อเดียวที่ไม่บริสุทธิ์ เกิดจากสารหลายชนิดมารวมกัน โดยไม่เกิดปฏิกิริยาเคมี เช่น น้ำเกลือเกิดจากเกลือแกงละลายในน้ำ น้ำเกลือจะแสดงสมบัติของสารที่ผสมกันทั้งสองชนิด คือ มีรสเค็มของเกลือแกงและเป็นของเหลวใสเหมือนน้ำ ถ้าให้ความร้อนแก่น้ำเกลือจนน้ำระเหยออกไปหมด จะได้เกลือแกงแยกออกจากน้ำ โดยไม่เปลี่ยนแปลงเป็นสารใหม่ เนื่องจากไม่เกิดปฏิกิริยาเคมี สารละลายแบ่งส่วนประกอบได้ 2 ส่วน คือ


    1. ตัวทำละลาย (Solvent) สารที่มีสถานะเดียวกับสารละลายหรือสารที่มีปริมาณมากกว่า
       
    2. ตัวละลาย (Solute) สารที่มีสถานะต่างจากสารละลายหรือสารที่มีปริมาณน้อยกว่า ตัวละลายในสารละลายแต่ละชนิดอาจมีได้หลายสาร
     

    สารแขวนลอยและคอลลอยด์

    สารไม่บริสุทธิ์เกิดจากสาร 2 ชนิดมารวมกันเป็นสารผสม สารผสมนั้น อนุภาคของสารหนึ่งแทรกอยู่ระหว่างอนุภาคของสารอีกสารหนึ่ง สารที่มีลักษณะของอนุภาคสอดแทรกอยู่ในตัวกลางที่เป็นของเหลวอาจเป็นสารแขวนลอย คอลลอย์ หรือสารละลายก็ได้

    สารแขวนลอย (suspension) คือ เป็นสารผสมที่อนุภาคของแข็งมีขนาดใหญ่กว่า 1 Χ 10-4 เซนติเมตร อยู่ในตัวกลางที่เป็นของเหลว มีลักษณะเป็นเนื้อผสมที่อนุภาคไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกัน อนุภาคของสารแขวนลอยไม่สามารถผ่านกระดาษกรองและแผ่นเวลโลเฟนได้ เช่น ผงถ่านในน้ำ น้ำคลอง น้ำโคลน เป็นต้น

    สารคอลลอย์ (colloid) คือ เป็นสารผสมที่อนุภาคของสารมีขนาดอยู่ระหว่าง 1 Χ 10-7 1 Χ 10-4 เซนติเมตร แทรกอยู่ในตัวกลาง ซึ่งตัวกลางมีทั้งของแข็ง ของเหลว และก๊าซ จะมองเห็นลักษณะของสารเป็นเนื้อเดียวกัน คอลลอยด์เป็นของเหลว ลักษณะขุ่น ไม่ตกตะกอน ขนาดของคอลลอยด์สามารถผ่านกระดาษกรองได้ แต่ไม่สามารถผ่านรูพรุนของแผ่นเซลโลเฟนได้ เช่น คอลลอยด์ที่เป็นของแข็งกึ่งของเหลว จำพวก โฟม ฟองน้ำ วุ้น เยลลี่ หรือคอลลอยด์ที่เป็นของเหลว จำพวก นมถั่วเหลือง น้ำสลัด น้ำส้มสายชู หรือคอลลอยด์ที่มีตัวกลางสถานะก๊าซ เช่น หมอก ควันไฟ เป็นต้น

    สมบัติบางประการของคอลลอยด์ คือ เมื่อผ่านลำแสงเล็กๆ เข้าไปในสารประเภทคอลลอยด์จะเกิดการหักเหและสะท้อนแสงเรียกว่า การกระเจิงของแสง (scattering) ทำให้มองเห็นเป็นลำแสงในคอลลอยด์

    คอลลอยด์ในชีวิตประจำวัน

    คอลลอยด์ที่พบในชีวิตประจำวันมีหลายชนิด บางชนิดนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น น้ำกะทิ น้ำสลัด น้ำสบู่ หรือน้ำผงซักฟอก เป็นต้น

    ของเหลวที่ละลายในกันและกันไม่ได้ เมื่อจะทำให้เป็นคอลลอยด์จะต้องเติมสารบางชนิดเพื่อเป็นตัวประสานลงไป เรียกคอลลอยด์ชนิดนี้ว่า อิมัลชัน (emulsion) และสารที่ทำหน้าที่ประสานให้อนุภาคของของเหลวที่ไม่ละลายรวมกัน สามารถแทรกรวมเป็นเนื้อเดียวกันได้ในอิมัลชัน เรียกว่า อิมัลซิฟายเออร์ (emulsifier) น้ำสบู่และผงซักฟอกจึงเป็นอิมัลซิฟายเออร์ ระหว่างน้ำและน้ำมัน ส่วนไข่แดงนั้น เป็นอิมัลซิฟายเออร์ในน้ำสลัด


     

    สรุปว่า "น้ำและน้ำมันพืชจะแยกกันอยู่เป็นชั้น และน้ำส้มสายชูผสมกับน้ำมันพืชจะแยกกันอยู่เป็นชั้น เมื่อปิดจุกยางเขย่า และตั้งหลอดทิ้งไว้ ผลที่สังเกตได้ น้ำและน้ำมันพืชจะแยกกันอยู่ในชั้น ส่วนน้ำส้มสายชูผสมกับน้ำมันพืชจะแยกกันอยู่เป็นชั้น เหมือนเดิม แต่เมื่อใส่น้ำแชมพูลงในหลอดที่ 1 น้ำแชมพูจะรวมกับน้ำได้ และใส่ไข่แดงในหลอดที่ 2 น้ำมันพืชจะรวมกับน้ำส้มสายชู โดยมีไข่แดงทำหน้าที่ประสานให้เป็นเนื้อเดียวกัน"

    ขอขอบคุณ