ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

การทดลองการศึกษาความสำคัญของคลอโรฟีลล์

กิจกรรม การศึกษาความสำคัญของคลอโรฟีลล์
Lab วิทยาศาสตร์กายภาพ   โรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคม   อำเภอบ้านม่วง    สพม. 23

จุดประสงค์ของกิจกรรม
1.             เพื่อทำการทดลองว่าคลอโรฟีลล์มีความสำคัญต่อกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช
2.             เพื่อศึกษาความสำคัญของคลอโรฟีลล์มีความสำคัญต่อกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช

วิธีทำกิจกรรม
1.             เด็ดใบชบาด่างที่ถูกแสงประมาณ  3 ชั่วโมง แล้ววาดรูปแสดงส่วนที่เป็นสีเขียวและสีขาว
2.             นำใบชบาด่างไปต้มในน้ำเดือด  1 นาที ในบีกเกอร์ที่มีน้ำ 40  ลูกบาศก์เซนติเมตร
3.             คีบใบชบาด่างจากบีกเกอร์ใส่หลอดทดลองขนาดใหญ่ ที่มี แอลกอฮอล์ 15  ลูกบาศก์เซนติเมตร
 แล้วจุ่มในน้ำเดือดอีก  2 นาที
4.             คีบใบชบาด่างจากหลอดทดลองจุ่มในบีกเกอร์ที่มีน้ำเย็น
5.             คีบใบชบาด่างใส่ถ้วยกระเบื้อง แล้วหยดสารละลายไอโอดีน 2- 3 หยดทิ้งไว้  ครึ่งนาทีสังเกต
และบันทึกผล
6.             คีบใบชบาด่างมาล้างน้ำ แล้วสังเกตผล
7.              นำสารละลายไอโอดีนมาทดสอบกับน้ำแป้งสุก  2 หยด สังเกตและบันทึกผล

ลักษณะของใบพืช
การเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้จากการทดลอง
ก่อนการทดลอง
เมื่อสกัดคลอโรฟีลล์แล้ว
หลังการทดลอง
มีสีขาวและสีเขียวอยู่ในใบเดียวกัน



สีเขียวที่ใบหายไป
เมื่อทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีนปรากกว่าบริเวณที่เคยมีเขียวมาก่อนทำให้
ไอโอดีนเปลี่ยนสีจากสีน้ำตาลเป็นสีน้ำเงินอมม่วง
1.             ใบชบาด่างที่สกัดคลอโรฟีลล์แล้วจะมีสี.ขาว
2.             ใบชบาด่างจากข้อ 1
เมื่อทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีนบริเวณที่เคยมีสีเขียวพบว่าไอโอดีนเปลี่ยนสีจากสีน้ำตาลเป็นสีน้ำเงินอมม่วง
3.             น้ำแป้งเมื่อทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีนพบว่าไอโอดีนเปลี่ยนสีจากสีน้ำตาลเป็นสีน้ำเงินอมม่วง






















 
 
จากการทำกิจกรรมการศึกษาความสำคัญของคลอโรฟีลล์นั้น   คลอโรฟีลล์นอกจากจะเป็นปัจจัยสำคัญของการสังเคราะห์แสงของพืชแล้ว   ยังมีความมีความสำคัญต่อมนุษย์ในด้านสุขภาพ เราสามารถนำคลอโรฟีลล์มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ทั้งอุปโภค และบริโภคได้  เช่นทำเป็นแชมพูสระผม  หรือนำมาทำเป็นคลอโรฟีลล์สกัด 100% เป็นผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่าอาหารแสริมก็ได้ ส่วนคนสมัยโบราณนิยมทานเป็นยา เช่น ต้มแล้วดื่มรักษาอาการปวดท้อง  ท้องอืด  หรือสมัยนี้นิยมนำมาทำอาหารก็ได้
จากภูมิปัญญาชาวบ้าน เราจึงได้ต่อยอดโดยแปรรูปใบย่านางมาทำเป็นน้ำสมุนไพรดื่ม ซึ่งสามารถบำบัดโรคต่าง ๆ ได้หลายโรค เช่น  โรคมะเร็ง  โรคตับ  โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ

ข้อมูลจากหนังสือ " ย่านาง สมุนไพลมหัศจรรย์ " โดย   ใจพชร มีทรัพย์ ( หมอเขียว ) นักวิชาการสาธารณสุข
สมการการสังเคราะห์แสงของพืช
คลอโรฟิลล์ (อังกฤษ: Chlorophyll) เป็นสารประกอบที่พบได้ในส่วนที่มีสีเขียวของพืช โดยพบมากที่ใบ นอกจากนี้ยังพบได้ที่ลำต้น ดอก ผลและรากที่มีสีเขียว และยังพบได้ในสาหร่ายทุกชนิด นอกจากนี้ยังพบได้ในแบคทีเรียบางชนิด คลอโรฟิลล์ทำหน้าที่เป็นโมเลกุลรับพลังงานจากแสง และนำพลังงานดังกล่าวไปใช้ในการสร้างพลังงานเคมีโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เพื่อสร้างสารอินทรีย์ เช่น น้ำตาล และนำไปใช้เพื่อการดำรงชีวิต [1] คลอโรฟิลล์ อยู่ในโครงสร้างที่เรียกว่า เยื่อหุ้มไทลาคอยล์ (Thylakoid membrane) ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มที่อยู่ภายใน คลอโรพลาสต์ (Chloroplast) [2]


ตัวอย่าง LAB

กิจกรรม การศึกษาสมบัติของสาร
Lab วิทยาศาสตร์กายภาพ   โรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคม   อำเภอบ้านม่วง    สพม. 23

จุดประสงค์ของกิจกรรม
เพื่อศึกษาสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางเคมีของสาร

วิธีทำกิจกรรม
1.             นำหลอดทดลองขนาดเล็กมา 5 หลอดบรรจุสารชนิดละ  1 ช้อนเบอร์ 1 ( เกลือแกง  น้ำตาลทราย หินปูน  น้ำมันพืช  เอทานอล )  สังเกตลักษณะของเนื้อสาร บันทึกผล
2.             เติมน้ำลงในหลอดทดลองทุกหลอด  จำนวน  1 ลูกบาศก์เซนติเมตร เขย่า  สังเกตและบันทึกผล
3.             เติมกรดน้ำส้ม 5 %  จำนวน 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร ในหลอดทดลองทั้ง  5 หลอด สังเกตและบันทึกผล
4.             นำของเหลวจากหลอดทดลอง ทั้ง 5 หลอด มาใส่ในจานหลุมโลหะแล้วนำไปให้ความร้อนด้วยตะเกียงแอลกอฮอล์  1 นาที สังเกตและบันทึกผล ( ทำทีละชนิด )

ตารางบันทึกผลการทำกิจกรรม
สาร
ลักษณะที่สังเกตได้
การเปลี่ยนแปลงเมื่อ
เติมน้ำ
เติมกรดน้ำส้ม
ให้ความร้อน
เกลือแกง
ของแข็งสีขาวขุ่น
ละลาย
ละลาย
ไม่หลอมเหลวและไม่ติดไฟ
น้ำตาล
ของแข็งสีขาวใส
ละลาย
ละลาย
หลอมเหลวและติดไฟ
หินปูน
ของแข็งสีขาวขุ่น
ไม่ละลาย
เกิดฟองแก๊ส
ไม่หลอมเหลวและไม่ติดไฟ
น้ำมันพืช
ของเหลวสีเหลือง
ไม่ละลายแต่แยกอยู่ชั้นบน
แยกเป็น 2 ชั้นและอยู่ชั้นบน
ติดไฟ
เอทานอล
ของเหลวไม่มีสี
ละลาย
ไม่เปลี่ยนแปลง
ติดไฟ


สรุปผลการทำกิจกรรม
                จากกิจกรรม สมบัติทางกายภาพของสารได้แก่ สมบัติที่สังเกตได้จากลักษณะภายนอก  ได้แก่  สถานะ  สี  ความสามารถในการละลายน้ำ จุดหลอมเหลว  จุดเดือด  เป็นต้น ส่วนสมบัติทางเคมีของสารได้แก่  การทำปฏิกิริยากับกรดน้ำส้ม  การติดไฟ
สารแต่ละชนิดนิจึงมีสมบัติทางกายภาพ หรือสมบัติทางเคมีบางประการคล้ายกัน  แต่จะมีสมบัติเฉพาะตัวบางประการที่แตกต่างจากสารอื่น ซึ่งสามารถตรวจสอบได้