ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประเมินโรงเรียนในฝัน 5 มีนาคม 2555 โรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคม สพม. 23



































วิทย์ ( เพิ่มเติม ม. 1)

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทั้ง 13 ทักษะ

1.ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร
การกำหนดตัวแปร เป็นการชี้บ่งตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องการควบคุม
ในสมมติฐานหนึ่ง ๆ การควบคุมตัวแปร เป็นการควบคุมสิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจากตัวแปรต้น ถ้าหากไม่ควบคุม ให้เหมือนๆ กัน ก็จะทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อน
ตัวแปรต้น คือ สิ่งที่เราต้องจัดให้แตกต่างกัน ซึ่งเป็นต้นเหตุ ทำให้เกิดผล ซึ่งเราคาดหวังว่าจะแตกต่างกัน ตัว
แปรตาม คือ สิ่งที่เราต้องติดตามดู ซึ่งเป็นผลจากการจัดสถานการณ์บางอย่าง ให้แตกต่างกัน
ตัวแปรควบคุม คือ สิ่งที่เราต้องควบคุมจัดให้เหมือนกันเพื่อให้แน่ใจว่า ผลการทดลอง เกิดจากตัวแปรต้นเท่านั้น
2.ทักษะการคำนวณ คือ การนับจำนวนของวัตถุและการนำตัวเลขแสดงจำนวนที่นับได้ มาคิดคำนวณโดยการบวก ลบ คูณ หาร หรือหาค่าเฉลี่ย
3.ทักษะการจัดทำและสื่อความหมายข้อมูล เป็นการนำผลการสังเกต การวัด การทดลองจากแหล่งต่าง ๆ โดยการหาความถี่ เรียงลำดับ จัดแยกประเภท หรือคำนวณหาค่าใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมาย ของข้อมูลดียิ่งขึ้น โดยอาจเสนอในรูปแบบของตาราง แผนภูมิ แผนภาพ วงจร กราฟ สมการ และการเขียนบรรยาย
4.ทักษะการจำแนกประเภท คือ การแบ่งพวก หรือเรียงลำดับวัตถุ หรือสิ่งที่อยู่ในปรากฏการณ์ โดยใช้เกณฑ์ ความเหมือน ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
5.ทักษะการตั้งสมมติฐาน คือ การคิดหาคำตอบล่วงหน้า ก่อนจะทำการทดสองโดยอาศัยการสังเกต ความรู้ ประสบการณ์เดิม เป็นพื้นฐานคำตอบที่คิดล่วงหน้าซึ่งยังไม่ทราบ หรือยังไม่เป็นหลักการ กฎ หรือ ทฤษฎีมาก่อน สมมติฐาน หรือคำตอบที่คิดไว้ล่วงหน้า มักกล่าวไว้เป็นข้อความ ที่บอก ความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรต้น กับตัวแปรตาม สมมติฐานที่ตั้งไว้ อาจถูก หรือผิดก็ได้ ซึ่งจะทราบภายหลัง การทดลอง หาคำตอบเพื่อสนับสนุน หรือคัดค้านสมมติฐานที่ตั้งไว้
6.ทักษะการตีความหมายข้อมูล และลงข้อสรุป การตีความหมายข้อมูล คือ การแปรความหมาย หรือ การบรรยาย ลักษณะและสมบัติของข้อมูลที่มีอยู่ การลงข้อสรุป คือ การสรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมด
7.ทักษะการทดลอง มี 3 ประเภท คือ การทดลองแบบแบ่งกลุ่ม เปรียบเทียบ ไม่มีกลุ่ม เปรียบเทียบและลองผิดลองถูก การทดลองเป็นกระบวนการปฏิบัติการเพื่อหาคำตอบ หรือการทดสอบ สมมติฐานที่ตั้งไว้ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ การออกแบบการทดลอง การปฏิบัติการทดลองและการบันทึกผลการทดลอง
8.ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ คือ การกำหนดความหมายและขอบเขตของสิ่งต่าง ๆ (ที่อยู่ในสมมติฐานที่ต้องทดลอง) ให้เข้าใจตรงกัน และสามารถสังเกตหรือวัดไว้
9.ทักษะการพยากรณ์ คือ การสรุปคำตอบล่วงหน้า ก่อนการทดลองโดยอาศัยประสบการณ์ ที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ หลักการ กฎ หรือทฤษฎีที่มีอยู่แล้วในเรื่องนั้น มาช่วยในการสรุป การพยากรณ์มีสองทาง คือ การพยากรณ์ภายในขอบเขตของข้อมูลที่มีอยู่และ การพยากรณ์นอกขอบเขตข้อมูลที่มีอยู่
10.ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล คือ การเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากากรสังเกตอย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย
11.ทักษะการวัด คือ การเลือกและการใช้เครื่องมือทำการวัดหาปริมาณของสิ่งต่าง ๆ ออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้อย่างเหมาะสม และถูกต้อง โดยมีหน่วยกำกับเสมอ
12.ทักษะการสังเกต คือ ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัส อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง เพื่อหาข้อมูล หรือรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ โดยไม่เพิ่มความคิดเห็น ส่วนตัวลงไป
13.ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับมิติ และมิติกับเวลา วัตถุต่าง ๆ ในโลกนี้ จะทรงตัวอยู่ได้ ล้วนแต่ครองที่ที่ว่าง การครอง ที่ของวัตถุในที่ว่างนั้น โดยทั่วไปแล้วจะมี 2 มิติ ได้แก่ มิติยาว มิติกว้าง และมิติสูงหรือหนา
อ้าอิงจาก :  chirugeon

พันธุกรรม

พันธุกรรม ม. 3
พันธุกรรมและการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
โครโมโซมในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
1.    ตำแหน่งและจำนวนของโครโมโซม
ตำแหน่งของโครโมโซม
            เซลล์แต่ละชนิดของสิ่งมีชีวิตประกอบด้วยเยื่อหุ้มเซลล์ ไซโทพลาซึม และนิวเคลียส เมื่อใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูนิวเคลียสจะเห็นโครงสร้างลักษณะเป็นเส้นยาวๆ เล็กๆ ขดกันอยู่ เรียกว่า โครโมโซม (Chromosome)
จำนวนของโครโมโซม
สิ่งมีชีวิตจะมีจำนวนของโครโมโซมที่มั่นคงและแน่นอน แต่ละสิ่งมีชีวิตจะมีจำนวนโครโมโซมที่แตกต่างกัน โครโมโซมในเซลล์ร่างกายและในเซลล์สืบพันธุ์(ไข่และอสุจิ) มีจำนวนไม่เท่ากัน ในเซลล์ร่างกายจะมี 46 โครโมโซม แต่ในเซลล์สืบพันธุ์จะมีแค่ครึ่งหนึ่งของเซลล์ในร่างกาย นั่นก็คือมี 23 โครโมโซม
กลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ จะแบ่งเซลล์เป็นแบบไมโอซิส(Meiosis) ทำให้โครโมโซมแยกออกจากกันไปอยู่ในเซลล์ใหม่ คือ เซลล์ที่จะเป็นไข่และอสุจิ เมื่อเซลล์ไข่และเซลล์อสุจิมาผสมกัน โครโมโซม 23 แท่ง จากเซลล์อสุจิและจากเซลล์ไข่ จะมาจับคู่กันได้เซลล์ใหม่ที่เกิดจากการผสมของเซลล์อสุจิและเซลล์ไข่ เรียกว่า ไซโกต (Zygote)

2.    รูปร่างและลักษณะของโครโมโซม
โครโมโซมในร่างกายจะมีลักษณะที่เหมือนกันเป็นคู่ๆ เรียกว่า ฮอมอโลกัสโครโมโซม (Homologous Chromosome)
            เมื่อมีการแบ่งเซลล์ แต่ละโครโมโซมประกอบด้วยโครมาทิด 2 โครมาทิด (Chromatid) ที่เหมือนกัน ซึ่งเกิดจากการที่โครโมโซมจำลองตัวเอง โดยโครมาทิดทั้งสองจะติดกันที่ตรงส่วนที่เรียกว่า เซนโทรเมียร์ (Centromere)

            หน่วยพันธุกรรมหรือยีน (Gene)
1.    การศึกษาพันธุกรรมของเมนเดล
เกรเกอร์ เมนเดล (Gregor Mendel) เป็นนักบวชชาวออสเตรีย เกิดเมื่อ พ.ศ. 2365 เป็นบุตรชาวสวน จึงได้เรียนรู้วิธีการผสมพันธุ์และปรับปรุงพืชมาแต่เด็ก เมื่อเป็นนักบวชได้ทดลองพืชถั่วลันเตา เขาพบว่า”ลักษณะที่ปรากฏในลูกเป็นผลมาจากการถ่ายทอดหน่วยที่ควบคุมลักษณะต่างๆ ที่ได้จากพ่อแม่ โดยผ่านทางเซลล์สืบพันธุ์”

2.    ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยพันธุกรรมกับโครโมโซม
พ.ศ. 2445 หลังการค้นพบของเมนเดล 2 ปี วอลเตอร์ ซัตตัน (Walter Sutton) นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน และเทโอดอร์ โบเฟรี (Theodor Boveri) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้เสนอว่า ”หน่วยพันธุกรรมที่เมนเดลค้นพบอยู่บนโครโมโซม”
ความสัมพันธ์ระหว่างโครโมโซมกับยีน โครโมโซมแท่งหนึ่งมียีนอยู่มาก โครโมโซมมีเป็นคู่ๆ ดังนั้นยีนจึงมีเป็นจำนวนคู่ๆ
      สารพันธุกรรม คือ DNA หรือ กรอดีออกซีไรโบคลีอิก (Deoxyribonucleic) ค้นพบโดย แอเวอร์ (Avery) แมคลอยด์ (Maclead) และแมคคาร์ที (McCarty)

3.    การทำงานของหน่วยพันธุกรรม
โครโมโซมซึ่งแยกจากกันขณะที่มีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ จะทำให้ยีนแยกออกจากกันด้วย และจะกลับมาเข้าคู่กันใหม่เมื่อมีการปฏิสนธิกลายเป็นเซลล์ที่มีโครโมโซมเท่ากับจำนวนที่มีในเซลล์ร่างกาย
ดังนั้นเราแต่ละคนจะได้รับโครโมโซมครึ่งหนึ่งมาจากพ่อและอีกครึ่งมาจากแม่ แต่เราไม่ได้มีลักษณะที่เหมือนพ่อครึ่งหนึ่งและแม่ครึ่งหนึ่ง ลูกบางคนอาจเหมือนพ่อ เหมือนแม่ หรือปู่ย่าตายาย แสดงว่าลักษณะต่างๆ ที่ปรากฏมาจากบทบาทของยีนที่ควบคุมการแสดงลักษณะต่างๆ และถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นต่อๆ ไปได้
ยีนที่ควบคุมลักษณะพันธุกรรมบางอย่าง มี 2 ชนิด คือ
ยีนเด่น (Dominant Gene) คือ ยีนที่สามารถแสดงลักษณะนั้นๆ ออกมาได้ แม้ว่ามียีนนั้นเพียงยีนเดียว ดังนั้นยีนนั้นๆ อาจจะมียีนเด่นกับยีนด้อย หรือ มียีนเด่นทั้งคู่ยืนอยู่บนโครโมโซม
ยีนด้อย (Recessive Gene) คือ ยีนที่สามารถแสดงลักษณะให้ปรากฏออกมาได้ต่อเมื่อมียีนด้อยทั้งสองยืนอยู่บนโครโมโซม

            กระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
1.    เพดดรีกรี (Pedigree) หรือพงศาวลี
ในการศึกษาพันธุกรรมของคน นักวิทยาศาสตร์นิยมใช้สัญญาลักษณ์แสดงบุคคลต่างๆ ในครอบครัว ทั้งที่ปรากฏลักษณะให้เห็นและไม่ปรากฏลักษณะให้เห็น แผนผังนี้เรียกว่า เพดดรีกรี
2.    การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมโดยมียีนบนออโตโซมและยีนบนโครโมโซมเพศ
โครโมโซมในเซลล์ร่างกายคน 46 แท่ง นำมาจับคู่ได 23 คู่ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
-         ออโตโซม (Autosome) คือ โครโมโซม 22 คู่ ที่เหมือนกันทั้งเพศหญิงและชาย
-         โครโมโซมเพศ (Sex Chromosome) คือ โครโมโซมคู่ที่ 23 เพศหญิงมีโครโมโซมเพศแบบ XX เพศชายมีแบบ XY โดยโครโมโซม Y จะเล็กกว่าโครโมโซม X
ยีนบนออโตโซม
คนมียีนอยู่ประมาณ 50,000 ยีน ส่วนใหญ่ยีนจะอยู่บนออโตโซม ดังนั้นลักษณะทางพันธุกกรมจะถูกถ่ายทอดโดยยีนที่อยู่บนออโตโซม การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกกรมจากยีนบนออโตโซม แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1.    การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกกรมที่ควบคุมโดยยีนเด่นบนออโตโซม
การถ่ายทอดนี้จะถ่ายทอดมาจากชายหรือหญิง มีลักษณะทางพันธุกรรมพันธุ์แท้ที่มียีนเด่นทั้งคู่ (พันธุ์แท้ลักษณะเด่น) หรือมียีนเด่นคู่กับยีนด้อย (พันธุ์ทาง) นอกจากนี้ยังมีลักษณะที่ผิดปกติอื่นๆ ที่นำโดยยีนเด่น เช่น คนแคระ โรคท้าวแสนปม และกลุ่มอาการมาร์แฟน(ผอมสูง แขนขายาว หัวใจผิดปกติ เลนส์ตาหลุด)
2.    การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกกรมที่ควบคุมโดยยีนด้อยบนออโตโซม
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่ผิดที่ถูกควบคุมโดยยีนด้อย พบว่าเมื่อดูจากภายนอกพ่อและแม่มีลักษณะปกติ แต่ทั้งคู่มียีนด้อยที่ควบคุมลักษณะผิดปกติแฝงอยู่ หรือเรียกว่า เป็นพาหะ (Carrier)
-         โรคธาลัสซีเมีย เป็นโรคที่มีอาการโลหิตจาง ดีซ่าน แคระแกรน เติบโตไม่สมบูรณ์ พุงใหญ่ เนื่องจากตับและม้ามโต มีการเปลี่ยนแปลงของกระดูก กระดูกหักง่าย ในรายที่มีอาการรุนแรงจะตายตั้งแต่อายุยังน้อย
-         ลักษณะผิวเผือก เกิดจากการขาดเอนไซม์ที่ใช้ในการสังเคราะห์เม็ดสีเมลานินในเซลล์ผิวหนัง ทำให้เส้นผม นัยน์ตา และเซลล์ผิวหนังมีสีขาว
-         เซลล์เม็ดเลือดแดงเป็นรูปเคียวหรือโรคซิกเคิลเซลล์ เซลล์ที่มีลักษณพเช่นนี้จะไม่สามารถลำเลียงแก๊สออกซิเจนได้มากเท่ากับเซลล์เม็ดเลือดแดงซึ่งมีรูปร่างปกติ ทำให้ขาดออกซิเจนในเลือด เป็นผลให้รู้สึกเจ็บปวด อ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีแรง

ยีนบนโครโมโซมเพศ
            โครโมโซม X มีขนาดใหญ่ มียีนอยู่จำนวนมาก มีทั้งยีนที่ควบคุมลักษณะทางเพศและยีนที่ควบคุมลักษณะอื่นๆ เช่น ตาบอดสี โรคกล้ามเนื้อแขนขาลีบ โรคฮีโมฟีเลีย (มีอาการเลือดแข็งตัวช้า) และภาวะพร่องเอนไซม์กลูโคส-6-ฟอสเฟสดีไฮโดรจีเนส หรือ G-6-PD ซึ่งยีนเหล่านี้เป็นยีนด้อย
โครโมโซม Y มีขนาดเล็ก มียีนอยู่จำนวนน้อย มีทั้งยีนที่ควบคุมลักษณะเพศชายและยีนที่ควบคุมลักษณะที่มีขนตามบริเวณบนใบหู ลักษณะเหล่านี้จะถ่ายทอดจากพ่อไปยังลูกและต่อๆ ไป ดังนั้นยีนที่อยู่ในโครโมโซมเพศ ได้แก่ โครโมโซม X หรือ Y เรียกว่า “ยีนที่เกี่ยวเนื่องกับเพศ” (Sex Linked Gene)

หน่วยที่ 2 ความผิดปกติและโรคทางพันธุกรรม
            โรคพันธุกรรม
1.    ความผิดปกติของโครโมโซม
ในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ต้องผ่านกระบวนการการแบ่งเซลล์ ย่อมมีโอกาสผิดพลาดได้แม้ไม่มากก็ตาม แต่ความผิดพลาดนี้เกิดขึ้นกับโครโมโซมในลักษณะที่ชิ้นส่วนของโครโมโซมขาดหายไปหรือเกินมาหรือจำนวนโครโมโซมเปลี่ยนไปจากเดิม ย่อมจะส่งผลต่อลักษณะทางพันธุกรรม เพราะโครโมโซมเป็นที่อยู่ของยีนจำนวนมาก

ความผิดปกติของโครโมโซม แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
ความผิดปกติที่เกิดกับออโตโซม เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของโครโมโซมของเซลล์ในร่างกาย มีความผิดปกติ 2 ชนิด คือ
-         ความผิดปกติที่จำนวนออโตโซม เป็นความผิดปกติที่ออโตโซมบางคู่เกินมา  1 โครโมโซม ความผิดปกติเหล่านี้มีลักษณะต่างๆ ดังนี้


กลุ่มอาการดาวน์ (Down’s syndrome)
สาเหตุ ออโตโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 โครโมโซม
ลักษณะอาการ ศีรษะแบน จมูกแบน ตาห่าง หางตาชี้ขึ้นบน ใบหูผิดรูป ปากปิดไม่สนิท ลิ้นจุกปาก นิ้วมือสั้นป้อม เส้นลายมือขาด ช่องระหว่างนิ้วหัวแม่เท้าและนิ้วเท้าที่สองกว้าง ลายเท้าผิดปกติ อาจมีหัวใจพิการแต่กำเนิดและปัญญาอ่อน
กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด (Edward’d syndrome)
สาเหตุ ออโตโซมคู่ที่ 18 เกินมา 1 โครโมโซม
ลักษณะอาการ หัวเล็ก หน้าผากแบน คางเว้า หูผิดรูป ตาเล็ก นิ้วมือบิดงอและกำเข้าหากันแน่น หัวใจพิการ ปอดและระบบย่อยอาหารผิดปกติ ปัญญาอ่อน เด็กที่เป็น 90% จะเสียชีวิตก่อนอายุ 1 ขวบ
กลุ่มอาการพาเทา (Patua’s syndrome)
สาเหตุ ออโตโซมคู่ที่ 13 เกินมา 1 โครโมโซม
ลักษณะอาการ ปัญญาอ่อน ปากแหว่ง เพดานโหว่ หูหนวก มีนิ้วเกิน อาจตาพิการหรือตายอด อายุสั้นมาก (เกิน 3 เดือน)

-         ความผิดปกติที่รูปร่างออโตโซม เป็นความผิดปกติที่ออโตโซมบางโครโมโซมขาดหายไปบางส่วน เช่น
กลุ่มอาการคริดูชาต์ (Cri-Du-Chat syndrome หรือ Cat-Cry syndrome)
สาเหตุ โครโมโซมคู่ที่ 5 แขนข้างสั้นหายไป 1 โครโมโซม
ลักษณะอาการ ศีรษะเล็ก หน้ากลม ตาห่าง ใบหูอยู่ต่ำกว่าปกติ ปัญญาอ่อน ลักษณะเด่นชัดในผู้ป่วย คือ เสียงร้องจะแหลมเกคล้ายกับเสียงแมวร้อง พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับโครโมโซม
จะเกิดจากโครโมโซม X หรือ Y ขาดหายไป หรือเกินมาจากปกติ จะส่งผลให้เกิดความผิดปกติทั้งทางร่างกายและจิตใจ และสามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้ ความผิดปกตินี้ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

ความผิดปกติที่เกิดกับโครโมโซม X มี 2 แบบ ดังนี้
-         โครโมโซม X ขาดหายไป 1 โครโมโซม
พบในเพศหญิง ทำให้โครโมโซม X เหลือแท่งเดียงโงนั้นโครโมโซมในเซลล์ร่างกายเหลือเพียง 45 แท่ง เป็นแบบ 44 + XO เรียกผู้ป่วยแบบนี้ว่า กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (Turner’s syndrome) มีลักษณะตัวเตี้ย ที่คอมีพังผืดการเป็นปีก แนวผมที่ท้ายทอยอยู่ต่ำ หน้าอกกว้าง หัวนมเล็กและอยู่ห่างกัน ใบหูใหญ่อยู่ต่ำและรูปร่างผิดปกติ แขนคอก รังไข่ไม่เจริญ ไม่มีประจำเดือน เป็นหมัน มีชีวิตอยู่ยาวเท่าคนปกติ


-         โครโมโซม X เกินมาจากปกติ เกินมาได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย
ชายอาจมีโครโมโซมเพศแบบ XXY หรือ XXXY ทำให้มีโครโมโซม 47 หรือ48 โครโมโซม เป็นแบบ 44 + XXY หรือ  44 + XXXY เรียกผู้ป่วยแบบนี้ว่า กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ (Klinefelter’s syndrome) มีลักษณะคล้ายเพศหญิง คือ มีสะโพกผาย หน้าอกโต สูงกว่าชายปกติ ลูกอัณฑะเล็ก เป็นหมัน มีอายุยาวเท่าคนปกติ
หญิง อาจมีโครโมโซมเพศแบบ XXX หรือ XXXX ทำให้มีโครโมโซม 47 หรือ 48 โครโมโซม เป็นแบ 44 + XXX หรือ 44 + XXXX เรียกผู้ป่วยแบบนี้ว่า ซูเปอร์ฟีเมล (Super female) มีลักษณะทั่วไปปกติ แต่สติปัญญาต่ำกว่าปกติ ถ้าไม่เป็นหมัน ลูกที่เกิดมาอาจมีความผิดปกติเช่นเดียวกับแม่

ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับโครโมโซม Y
โดยมีโครโมโซม Y เกินมาจากปกติ จึงเป็นแบบ XYY ทำให้มีโครโมโซม 47 โครโมโซม เป็นแบบ 44 + XYY เรียกว่า ซูเปอร์เมน (Super men) มีลักษณะ รูปร่างสูงใหญ่กว่าปกติ อารมณ์ร้าย โมโหง่าย แต่บางรายมีจิตใจเป็นปกติและไม่เป็นหมัน

2.    ความผิดปกติของหน่วยพันธุกรรมหรือยีนบนโครโมโซม
ถ้าหน่วยพันธุกรรมหรือยีนเกิดความผิดปกติ ทำให้เกิดโรคทางพันธุกรรมบางชนิดได้ เช่น คนผิวเผือก โรคธาลัสซีเมีย โรคโลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์ ซึ่งเป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่ผิดปกติที่ถ่ายทอดโดยยีนด้อยบนออโตโซม สาเหตุจากการเกิด มิวเทชัน (Mutation)
มิวเทชัน คือ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับหน่วยพันธุกรรม ทำให้หน่วยพันธุกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งมีผลต่อการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นต่อๆ ไป
สาเหตุ มาจากการได้รับรังสีบางชนิด เช่น รังสีเอกซ์ รังสีอัลตราไวโอเลต และสารเคมีบางชนิด เช่น กรดไนตรัส สารอะฟราทอกซินจากเชื้อราบางชนิด สารเหล่านี้เรียกว่า สิ่งก่อกลายพันธุ์หรือมิวทาเจน (Mutagen) ซึ่งสามารถกระตุ้นหรือชักนำให้เกิดมิวเทชันขึ้นได้

การป้องกันการเกิดโรคพันธุกรรม
ปัจจุบันการแพทย์สามารถช่วยลดการถ่ายทอดทางโรคพันธุกรรมได้โดย
1.       จัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาแนะนำทางพันธุศาสตร์ โดยให้ความรู้กับคู่สมรส หากพบว่าตนเองมีประวัติโรคพันธุกรรมในครอบครัว เพื่อจะได้ตัดสินใจที่จะเลือกที่จะมีบุตรหรือไม่มีบุตร
2.       การตรวจความผิดปกติบางประการที่เกิดขึ้นกับตัวอ่อนในท้องแม่ (Fetus) ว่ามีโครโมโซมผิดปกติหรือไม่ โดยนำเอาน้ำคล่ำ (Amniotic Fluid) ซึ่งมีเซลล์ของตัวอ่อนหลุดปะปนอยู่มาตรวจดูโครโมโซม เรียกวิธีการนี้ว่า แอมนิโอเซนทิซีส (Amniocentesis) ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคพันธุกรรมบางโรคในทารกได้ก่อนคลอด
มารดา ที่ควรได้รับการตรวจด้วยวิธีนี้ คือ คู่สมรสที่มีประวัติโรคพันธุกรรมในครอบครัวและมารดาที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุมากตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป

อาหารและสารอาหาร

อาหารและสารอาหาร

สารอาหาร

สารอาหาร
อาหาร หมายถึง สิ่งที่รับประทานเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่เป็นโทษต่อร่างกายและมีประโยชน์โดยทำให้ร่างกายดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข และให้พลังงานแก่ร่างกาย ซึ่งพลังงานเหล่านี้นำมาใช้ในการดำเนินกิจกรรมและให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ประกอบด้วยสารอาหารหลายประเภท คือ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่
สารเคมีที่เป็นส่วนประกอบในอาหารนั้นมีมากมายหลายชนิด จะรวมเรียกว่า “สารอาหาร” การจำแนกสารอาหารตามหลักโภชนาการจะพิจารณาจากปริมาณของสารอาหารที่มีอยู่ในอาหารนั้นๆ มากที่สุดเป็นหลัก ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 5 หมู่ ดังนี้ คือ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุ เหล่านี้เมื่อรับประทานเข้าไปจะถูกเผาผลาญให้เกิดเป็นพลังงานและความร้อนเพื่อนำไปใช้ควบคุมการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย เช่น การเดิน การวิ่ง การยืน การนอน การหายใจ เป็นต้น ซึ่งหากแบ่งสารอาหารโดยใช้เกณฑ์การให้พลังงานของสารอาหาร จะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
- กลุ่มสารอาหารที่ให้พลังงาน
- กลุ่มสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน
กลุ่มสารอาหารที่ให้พลังงาน
สารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน อาหารทั้งหมดในกลุ่มนี้จัดเป็นสารอาหารหลักที่จำเป็นต่อร่างกาย และจะขาดไม่ได้
1. คาร์โบไฮเดรต สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เป็นสารอินทรีย์ที่ให้พลังงานที่สำคัญแก่ร่างกาย มักพบอยู่ในรูปของแป้ง และน้ำตาลเป็นส่วนใหญ่ พบมากในข้าว แป้ง ขนมปัง ผัก ผลไม้ นม และผลิตภัณฑ์จากนม คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี หากปริมาณคาร์โบไฮเดรตในร่างกายมีมากเกินความต้องการ ร่างกายจะเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตส่วนเกินนี้ให้อยู่ในรูปของไกลโคเจนและเก็บสะสมไว้ในร่างกาย
2. ไขมัน สารอาหารประเภทไขมัน เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานสูง ประกอบด้วยกรดไขมันและ
กลีเซอรอล พบมากในไขมันจากพืช มันสัตว์ นม เนย ถั่ว กรดไขมันแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
2.1 กรดไขมันอิ่มตัว เป็นไขมันที่พบมากในเนื้อสัตว์ มันสัตว์ หนังสัตว์ เครื่องใน ไข่แดง กุ้ง ปู นม และผลิตภัณฑ์จากนม ไขมันประเภทนี้ หากมีมากเกินไปจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดอุดตัน
2.2 กรดไขมันไม่อิ่มตัว เป็นไขมันที่พบมากในถั่ว เต้าหู้ เห็ด น้ำมันพืช (ยกเว้นน้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม) ช่วยลดการดูดซึมไขมันอิ่มตัว ป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตัน
สำหรับไขมัน 1 กรัม จะให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี สารอาหารประเภทไขมันช่วยให้อาหารมีรส กลิ่น และเนื้อสัมผัสที่ดีขึ้น ช่วยในการดูดซึมวิตามิน เอ ดี อี และ เค ไขมันที่มีมากเกินความต้องการของร่างกายจะถูกสะสมเป็นชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ช่วยป้องกันการกระทบกระเทือนของอวัยวะภายใน ป้องกันการสูญเสียความร้อนของร่างกาย
3. โปรตีน สารอาหารประเภทโปรตีน เป็นสารอาหารที่มีในร่างกายมากเป็นที่สองรองจากน้ำ มี
หน่วยย่อยที่เล็กที่สุด คือกรดอะมิโน ซึ่งมีประมาณ 12 -22 ชนิด แบ่งเป็น กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย และกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย
สารอาหารประเภทโปรตีนมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างสารควบคุมการทำงานของร่างกาย เช่น ฮอร์โมน และเอนไซม์ รักษาดุลยภาพของสารต่างๆ ในร่างกาย ให้พลังงานและความร้อน เช่นเดียวกับคาร์โบไฮเดรตและไขมัน ช่วยป้องกันโรคไขมันอุดตัน และสร้างภูมิคุ้มกันโรค โปรตีนจะพบมากในไข่ นม เนื้อสัตว์ ถั่ว ข้าว ข้าวโพด ผักและผลไม้บางชนิด โปรตีนในเนื้อสัตว์เป็นโปรตีนที่สมบูรณ์เพราะมีกรดอะมิโนครบตามความต้องการของร่างกาย แต่หากผู้ใดไม่รับประทานเนื้อสัตว์ก็สามารถรับประทานอาหารประเภทถั่ว ข้าวโพด ผัก และผลไม้ชดเชยได้ แต่อาหารประเภทนี้ก็จะมีกรดอะมิโนไม่ครบตามที่ร่างกายต้องการ โปรตีน 1 กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี
การตรวจสอบหาสารอาหารประเภทต่างๆ ที่มีอยู่ในอาหาร มีวิธีการตรวจสอบอย่างง่ายๆ ดังนี้
1. การตรวจสอบหาคาร์โบไฮเดรต มี 2 วิธี คือ
1.1 การทดสอบแป้ง จะใช้สารละลายไอโอดันหยดลงบนอาหารที่ต้องการทดสอบ ถ้าอาหารที่ทดสอบมีแป้งเป็นส่วนประกอบจะเปลี่ยนสีของสารละลายไอโอดีนจากสีน้ำตาลเป็นสีม่วงเข้มเกือบดำ หรือม่วงแกมน้ำเงิน
1.2 การทดสอบน้ำตาล จะใช้สารละลายเบเนดิกต์หยดลงไปในอาหาร แล้วนำไปต้มในน้ำเดือด ถ้าเกิดตะกอนสีส้ม สีเหลือง หรือสีอิฐ แสดงว่าอาหารนั้นมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ
2. การตรวจสอบหาโปรตีน จะใช้การทดสอบที่เรียกว่า การทดสอบไบยูเร็ต คือการเติมสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ และสารประกอบคอปเปอร์ซัลเฟตลงในอาหาร ถ้าสีของสารละลายเปลี่ยนจากสีฟ้าเป็นสีม่วง หรือสีชมพูอมม่วง หรือสีน้ำเงิน แสดงว่าอาหารนั้นมีโปรตีน
3. การตรวจสอบหาไขมัน เป็นการตรวจสอบที่สามารถทำได้ง่ายๆ ไม่ยุ่งยากเหมือนกับวิธีการตรวจสอบสารอาหารประเภทอื่น คือการนำอาหารไปแตะหรือถูกับกระดาษสีขาว แล้วให้แสงส่องผ่าน ถ้ากระดาษเป็นมันและมีลักษณะโปร่งแสงแสดงว่าอาหารนั้นมีไขมันอยู่
กลุ่มสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน
วิตามิน
เป็นสารอาหารที่ร่างกายของเราต้องการในปริมาณน้อย แต่ก็ไม่สามารถขาดได้ ถ้าขาดจะทำให้ระบบร่างกายของเราผิดปกติ หรือเกิดโรคต่างๆได้ วิตามินแบ่งออกเป็น 2 พวก ได้แก่
1. วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามิน เอ ดี อี เค
2. วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินซี และวิตามินบีรวม
วิตามินมีดังต่อไปนี้
วิตามินเอ ค้นพบโดย ดร. อี.วี. แมคคอลลัม (E.V. McCollum) นักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกา ประโยชน์ของวิตามินเอมีดังนี้
 หากขาดจะทำให้เป็นโรคมองไม่เห็นในที่มืด
ช่วยป้องกันการแพ้แสงสว่างของบางคน
ผู้ที่ต้องการวิตามินเอมาก คือผู้ที่ต้องใช้สายตามาก
วิตามินเอมีมากในไขมันเนย น้ำมันตับปลา ไข่แดง กะหล่ำปลี พืชตระกูลถั่ว ผักสีแดง ผักสีเหลือง
 วิตามินดี ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมในร่างกาย ป้องกันโรคกระดูกอ่อน และควบคุมปริมาณของแคลเซียมในเลือด อาหารที่ให้วิตามินดีมีน้อยมาก จะมีอยู่ในพวกน้ำมันตับปลา ร่างกายสามารถสังเคราะห์วิตามินดีได้จากรังสีอุลตราไวโอเลต ซึ่งมีอยู่ในแสงแดด
 วิตามินซี (หรือกรดแอสคอร์บิก) ค้นพบเจอในพริกชนิดหนึ่งในปี ค.ศ. 1928 โดยนักชีวเคมีชาวฮังกาเรียนชื่อ อัลเบิร์ต เซนต์ เกอร์กี ประโยชน์ของวิตามินซีคือ ช่วยในการป้องกันจากโรคหวัด สามารถลดระดับของซีรัมคลอเลสเตอรอล(เพราะวิตามินซีจะรวมตัวกับคลอเลสเตอรอลและแคลเซียม ทำให้คลอเลสเตอรอลแตกกระจายในน้ำได้) ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรคหัด คางทูม และโพลีโอไวรัส หากได้รับวิตามินซีในปริมาณสูงมาก จะช่วยเพิ่มความต้านทานต่อเซลล์มะเร็ง และสามารถทำลายเซลล์มะเร็งแบบmelanomaได้ มีผลให้สามารถยืดอายุของผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งได้ วิตามินซีที่บริษัทยาผลิตจำหน่ายโดยปกติจะอยู่ในลักษณะเป็นเม็ดฟู่ซึ่งมีแคลเซียมอยู่ด้วย ถ้าหากผู้สูงอายุได้รับแคลเซียมมากเกินไปจะทำให้กระดูกงอก
 วิตามินบีรวม มีดังต่อไปนี้
วิตามินบี1 มีมากในเนื้อหมู ข้าวกล้อง เห็ดฟาง ฯลฯ มีหน้าที่เกี่ยวกับการใช้คาร์โบไฮเดรต การทำงานของหัวใจ หลอดอาหารและระบบประสาท
วิตามินบี2 พบมากในตับ ยีสต์ ไข่ นม เนย เนื้อ ถั่ว และผักใบเขียว ปลาและผลไม้จำพวกส้มแทบไม่มีวิตามินบี2เลย ถ้ากินวิตามินบี 2มากเกินไป ไม่มีผลเสียต่อร่างกาย เพราะสามารถถูกขับถ่ายออกมาได้ วิตามินบี2มีความสำคัญต่อร่างกาย ดังนี้
มีความเกี่ยวข้องกับการเผาผลาญไขมันที่เรียกกันในทางวิทยาศาสตร์ว่า ลิปิด
ใช้ในการเผาผลาญกรดอะมิโนทริพโตเฟน กรดนี้มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก และมีความจำเป็นต่อการเกิดสมดุลของไนโตรเจนในร่างกาย
เป็นส่วนประกอบสำคัญของสีที่เรตินาของลูกตา ซึ่งช่วยให้สายตาปรับตัวในแสงสว่าง
อาการที่เกิดจากการขาดวิตามินบี2 คือ เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร มีอาการทางประสาทการย่อยอาหารไม่ปกติ ถ้าเป็นมากๆปาก และลิ้นอาจแตก
วิตามินบี3 บางทีเรียกว่า ไนอาซิน ประวัติของไนอาซินเริ่มมาจากการที่ประเทศอังกฤษเกิดโรคที่เรียกว่า เพลากรา(Pellagra) อาการของโรคนี้คือ เป็นโรคผิวหนัง ต่อมามีอาการท้องเดิน ในที่สุดก็จะมีอาการทางประสาทถึงขั้นเสียสติและตายไปในที่สุด ซึ่งในสมัยโบราณโรคนี้ไม่มีทางหายได้ ต่อมานักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อ โกลเบอร์เกอร์(Goldberger)ผู้เชี่ยวชาญทางด้านแบคทีเรีย ได้วิจัยโรคนี้ ซึ่งเขาได้สังเกตเห็นว่า ผู้ที่ป่วยโรคนี้ส่วนมากจะเป็นผู้ที่มีฐานะยากจนที่ไม่สามารถกินอาหารจำพวกเนื้อ นม ไข่ ได้เขาจึงสรุปผลออกมาว่า โรคนี้เกิดจากการที่ขาดสารอาหาร ต่อมาเขาทำการทดลองให้อาสาสมัครกินอาหารประเภทเดียวกันกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเพลากรา และเมื่ออาสาสมัครเหล่านั้นเป็นโรคแล้ว เขาก็ทำให้หายโดยให้กินเนื้อสัตว์ นม และยีสต์ เมื่อผลเป็นเช่นนี้ ผู้คนจึงยอมรับว่า ยังมีวิตามินบีอีกชนิดหนึ่งอยู่ในอาหาร ภายหลังเรียกวิตามินนี้ว่า ไนอาซิน สามารถรักษาโรคเพลากราให้หายได้ ไนอาซินมีมากในตับและไต
 หน้าที่ของไนอาซิน
ช่วยในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต
นำไปใช้กับวิตามินชนิดอื่นๆเช่น วิตามินซี รักษาโรคชิโซฟรีเนีย
 สามารถใช้ในการักษาโรคปวดศีรษะแบบไมเกรนไดผล
 ความต้องการไนอาซิน
ควรได้รับวันละ 20 มิลลิกรัม การได้รับไนอาซินมากเกินไปไม่มีผลเสียต่อร่างกาย เพราะสามารถขับถ่ายออกมาได้ อาหารที่มีไนอาซินได้แก่ ไก่ ยีสต์ ถั่ว ตับ ไต หัวใจ
1. วิตามินบี6 มีชื่อทางเคมีว่า ไพริดอกซิน(Pyridoxin) ความสำคัญของวิตามินบี6 มีดังนี้ คือ
 ใช้ในการผาผลาญกรดอะมิโนทริปโตเฟนในร่างกาย
 หากขาดจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้ง่าย เพราะวิตามินบี6จะช่วยในการเผาผลาญคอเลสเตอรอลอย่างมีประสิทธิภาพ
ช่วยในการเผาผลาญโปรตีน
 ผู้ที่มักขาดวิตามินบี6 ได้แก่ สตรีที่กินยาคุมกำเนิด สตรีที่อยู่ในช่วงของการมีประจำเดือน และหญิงมีครรภ์
 อาหารที่มีวิตามินบี6 ไก่ ยีสต์ ถั่ว ตับ ปลา ไก่ กล้วย ข้าวแดง ฯลฯ
2. วิตามินบี12 มีอยู่ในอาหารจากสัตว์ เช่น ตับ(มีวิตามินบี12มากที่สุด) นม ไข่ เนย วิตามินนี้มีอยู่ในพืชน้อยมาก ความสำคัญของ วิตามินบี12 มีดังนี้
 มีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง
 มีส่วนสำคัญในการทำงานของระบบประสาท
 มีส่วนในการสร้างกรดนิวคลีอิค(nucleic acid) ซึ่งเป็นพื้นฐานของกรรมพันธุ์
 มีส่วนช่วยในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต
 มีส่วนช่วยให้ร่างกายนำไขมัน คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน ไปใช้ได้อย่างสมบูรณ์
 มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบประสาท
ช่วยในการเจริญเติบโตของเด็กๆ คือ มีความต้านทานต่อโรค มีน้ำหนักและส่วนสูงมากกว่าปกติ
3. วิตามินซีหรือกรดแอสคอร์บิก ค้นพบเจอในพริกชนิดหนึ่งในปี ค.ศ. 1928 โดยนักชีวเคมีชาวฮังกาเรียนชื่อ อัลเบิร์ต เซนต์ เกอร์กี ประโยชน์ของวิตามินซีมีดังนี้
 ช่วยในการป้องกันจากโรคหวัด
สามารถลดระดับของซีรัมคลอเลสเตอรอล(เพราะวิตามินซีจะรวมตัวกับคลอเลสเตอรอลและแคลเซียม ทำให้คลอเลสเตอรอลแตกกระจายในน้ำได้)
 ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า
 ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรคหัด คางทูม และโพลีโอไวรัส
 หากได้รับวิตามินซีในปริมาณสูงมาก จะช่วยเพิ่มความต้านทานต่อเซลล์มะเร็ง และสามารถทำลายเซลล์มะเร็งแบบmelanomaได้ มีผลให้สามารถยืดอายุของผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งได้
 วิตามินซีที่บริษัทยาผลิตจำหน่ายโดยปกติจะอยู่ในลักษณะเป็นเม็ดฟู่ซึ่งมีแคลเซียมอยู่ด้วย ถ้าหากผู้สูงอายุได้รับแคลเซียมมากเกินไปจะทำให้กระดูกงอก
4. วิตามินอี วิตามินอีได้มาจากพืชในธรรมชาติ ประโยชน์ของวิตามินอีมีดังนี้
 ช่วยในการลดปริมาณคลอเลสเตอรอลที่ค้างอยู่ในหลอดเลือดในมนุษย์และสัตว์
ช่วยบำบัดโรคหัวใจ
 ช่วยในการป้องกันอันตรายจากโอโซนในบรรยากาศ
 ใช้ในการรักษาโรคเลือดออกใต้ผิวหนัง
เกลือแร่
ร่างกายมีเกลือแร่ 4% ของน้ำหนักร่างกายทั้งหมด เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการมีดังต่อไปนี้
5. แคลเซียม เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน ช่วยควบคุมการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ และหัวใจ เป็นธาตุที่จำเป็นในการแข็งตัวของเลือด มีอยู่มากในนม และเนื้อสัตว์ประเภทที่กินได้ทั้งกระดูก เช่น กุ้งแห้ง ปลาเล็กปลาน้อย หญิงมีครรภ์ หญิงให้นมบุตร และทารกที่กำลังเจริญเติบโตไปจนถึงวัยรุ่นควรกินแคลเซียมมากกว่าปกติ
6. เหล็ก เป็นตัวนำออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย เป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดงในส่วนที่เรียกว่า ฮีโมโกลบินซึ่งเป็นตัวพาออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย และพาคาร์บอนไดออกไซด์กลับไปยังปอดเพื่อขับถ่ายออกในรูปการหายใจ ในประเทศร้อน เมื่อเหงื่อออกมาก อาจมีการสูญเสียเหล็กออกไปกับเหงื่อได้ อาหารที่มีเหล็กมากได้แก่ เครื่องในสัตว์ ถั่วเมล็ด ผักใบเขียวบางชนิด
7. ไอโอดีน ส่วนใหญ่ไอโอดีนจะอยู่ในต่อมไทรอยด์ ซึ่งอยู่ที่คอส่วนล่าง ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อ มีหน้าที่สังเคราะห์ฮอร์โมนไทรอกซิน ถ้าหากร่างกายมีการขาดไอโอดีนตั้งแต่เด็ก จะทำให้เป็นโรคเอ๋อ ร่างกายแคระแกร็น และเป็นโรคคอพอก อาหารที่มีไอโอดีนได้แก่ อาหารทะเล และเกลืออนามัย วัยรุ่น หญิงมีครรภ์ และหญิงให้นมบุตรต้องการไอโอดีนสูง
8. แมกนีเซียม มีมากในอาหารหลายชนิด เช่น ถั่ว ข้าวแดง ข้าววีท ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโพด ผักใบเขียว(หากหุงต้มนานเกินไปจะทำให้แมกนีเซียมหลุดออกไปหมด) แมกนีเซียมมีประโยชน์ดังนี้
 ทำงานร่วมกับแคลเซียม หากร่างกายขาดแมกนีเซียม ฟันจะไม่แข็งแรง
 การที่ร่างกายมีแมกนีเซียมต่ำ จะทำให้ความดันโลหิตสูง และเป็นโรคหัวใจ
 ผู้ใหญ่จะต้องการแมกนีเซียมประมาณ 300-400 มิลลิกรัมต่อวัน
9. ซีลีเนียม เป็นธาตุที่มีสมบัติเหมือนกำมะถัน ร่างกายต้องการซีลีเนียมน้อยมาก หากได้รับมากเกินไปจะเป็นอันตราย
 อาหารที่มีซีลีเนียมมาก ได้แก่ ข้าวสาลี ตับ ไต ปลาทูน่า ประโยชน์ของซีลีเนียมมีดังนี้
 มีการทำงานสัมพันธ์กันกับวิตามินอี ซึ่งมีผลในการป้องกันโรคหัวใจ
 เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์ชนิดหนึ่งชื่อว่า ซีลีโนโปรตีน เอนไซม์นี้ป้องกันไม่ให้สารพิษชื่อว่า ฟรีแรดิกัล เกิดขึ้นใน
 ร่างกายมนุษย์
 ช่วยลดการแพ้เคมีภัณฑ์ต่างๆได้
 ช่วยลดการแพ้มลพิษจากอากาศ
 ช่วยป้องกันโรคมะเร็งหลอดอาหาร
10. สังกะสี เป็นธาตุที่เราต้องรับเป็นประจำในปริมาณที่น้อยมาก เพราะถ้ามากเกินไปก็จะก่อให้เกิดอันตราย อาหารที่มีสังกะสีมาก ได้แก่ ตับ ข้าวสาลี ข้าวโพด ถั่ว หอยนางรม ประโยชน์ของสังกะสีมีดังนี้
 หากกินอาหารที่มีสังกะสีในปริมาณต่ำมาก จะทำให้เจริญเติบโตช้า ขนร่วง
 มีความสำคัญในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน
 เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์อินซูลิน ซึ่งช่วยในการเผาผลาญน้ำตาลที่เรากินเข้าไป ซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวาน ร่างกายจะมีสังกะสีต่ำกว่าคนปกติ
 หากขาดจะเป็นโรคตาบอดสี(เรตินาในตาของคนจะมีสังกะสีอยู่ในปริมาณสูง)
 ช่วยเพิ่มให้รู้สึกว่าอาหารหวานยิ่งขึ้น ทำให้คนกินหวานน้อยลง
 บำรุงรักษาผิวหนัง และสิวฝ้า
11. โครเมียม ร่างกายต้องการน้อยมาก ถ้าได้รับมากเกินไปก็จะเกิดอันตราย อาหารที่มีโครเมียมมาก
ได้แก่ ไข่แดง ตับ หอย มันเทศ ยีสต์หมักเหล้า ประโยชน์ของโครเมียมมีดังนี้
 ช่วยในการเผาผลาญน้ำตาล
 ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
อ้างอิงจาก คุณครูบุษบา มั่งประสิทธิ์