ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ชีววิทยา ม.4 สิ่งมีชีวิต

ชีววิทยา ม.4  สิ่งมีชีวิต
สมบัติของสิ่งมีชีวิต คือ เป็นหน่วยที่ต้องใช้พลังงานและพลังงานที่ใช้นั้นต้องเกิดจากปฏิกิริยาเคมีในเซลล์
หรือในร่างกายของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ สิ่งมีชีวิตมีสมบัติทางกายภาพและชีวภาพดังนี้
1. การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต
2. สารอาหารและพลังงานของสิ่งมีชีวิต
3. การเจริญเติบโตอายุขัยและขนาดของสิ่งมีชีวิต
4. การการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสิ่งมีชีวิต
5. การรักษาดุลยภาพของร่างกายของสิ่งมีชีวิต
6. ลักษณะจำเพาะของสิ่งมีชีวิต
7. การจัดระบบของสิ่งมีชีวิต
1. การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต
การสืบพันธุ์ (reproduction) หมายถึง การเพิ่มจำนวนลูกหลานที่มีลักษณะเหมือนเดิมของสิ่งมีชีวิต โดยสิ่งมีชีวิตรุ่นใหม่ที่เกิดขึ้นนี้จะทดแทนสิ่งมีชีวิตรุ่นเก่าที่ล้มหายตายจากไป ทำให้สิ่งมีชีวิตเหลือรอดอยู่ในโลกได้โดยไม่สูญพันธุ์ไป การสืบพันธุ์มี 2 วิธี คือ
 
2. สารอาหารและพลังงานของสิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องการสารอาหารและพลังงาน เพื่อใช้ในกิจกรรมต่างๆ กิจกรรมต่างๆของสิ่งมีชีวิตจะต้องประกอบไปด้วยกระบวนการ เมแทบอลิซึม(metabolism) เกิดขึ้นภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิต แบ่งย่อยได้ 2 กระบวนการ คือ
3. การเจริญเติบโต อายุขัยและขนาดของสิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีขนาดไม่เท่ากันบางชนิดใหญ่มาก เช่น ช้าง สูงถึง 7 เมตร ขนาดใหญ่ เช่น วัว ควาย ขนาดเล็ก เช่น กุ้ง หอย ปู ขนาดเล็ก เช่น ไรน้ำ สิ่งมีชีวิตเมื่อเติบโตได้ในระยะหนึ่งก็จะตาย เราจะเรียกว่า อายุขัย โดยแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน ดูตาราง
การเจริญเติบโตประกอบไปด้วยกระบวนการ 4 กระบวนการ คือ
 
        
    4. การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสิ่งมีชีวิต
เป็นการตอบสนองของสิ่งมีชีวิตที่ตอยสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางเคมีที่เกิดขึ้น สิ่งเร้า (stimulus) อย่างเดียวกันอาจจะตอบสนอง (respon) ไม่เหมือนกันก็ได้ ในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด เช่น แสงเป็นสิ่งเร้าที่พืชเอนเข้าหา ส่วนโพโทซัวหลายชนิดจะเคลี่อนหนี ตัวอย่างการตอบสนอง เช่น พืชตระกูลถั่วจะหุบใบในตอนเย็นหรือกลางคืน ซึ่งเรียกว่าต้นไม้นอน เป็นต้น
 
 
 
5. การรักษาดุลยภาพของร่างกายของสิ่งมีชีวิต
เซลล์ของสิ่งมีชีวิตจะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น ระดับน้ำในเซลล์และร่างกาย ความเป็นกรด-เบส อุณหภูมิ แร่ธาตุ ระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้นการรักษาระดับของปัจจัยเหล่านี้จึงจำเป็นอย่างมากสำหรับเซลล์และร่างกายของสิ่งมีชีวิต
เซลล์คุมแตกต่างจากเซลล์เอพิเดอร์มิสอื่น คือ มีคลอโรฟิลล์อยู่ด้วย จึงสามารถสังเคราะห์แสงได้และการสังเคราะห์ด้วยแสงนี้ เป็นกลไกสำคัญที่ทำให้เกิดการเปิดปิดของปากใบ การคายน้ำและการลำเลียงสารของพืช ผิวของเซลล์ชั้นเอพิเดอร์มิสมีสารขี้ผึ้ง เรียกว่า คิวทิน (cutin) ฉาบอยู่เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำออกจากผิวใบของพืช
6. ลักษณะจำเพาะของสิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิตมีลักษณะจำเพาะ เช่น คนมีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่าคน แมว สนุข หรือแม้แต่ต้นพืชหรือ สาหร่ายขนาดเล็กก็มีลักษณะเฉพาะเช่นกัน
7. การจัดระบบของสิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิตมีการจัดระบบโครงสร้างและการดำรงชีวิต เช่น
 
1. โครงสร้างของสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วย
2. การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วย

3) จุลชีววิทยา (Microbiology) ศึกษาเรื่องราวต่างๆ ของจุลินทรีย์ เช่น
1. วิทยาแบคทีเรีย (Bacteriology) ศึกษาเกี่ยวกับแบคทีเรีย
2. วิทยาไวรัส (Virology) ศึกษาเกี่ยวกับไวรัส
3. วิทยาสัตว์เซลล์เดียว (Protozoology) ศึกษาเกี่ยวกับโพรโทซัว
4. ราวิทยา (mycology) ศึกษาเกี่ยวกับรา เห็ด ยีสต์

       ชีววิทยา เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็นความรู้ และส่วนที่เป็นกระบวนการค้นหาความรู้ ชีววิทยามาจากคำว่า ชีว (bios ภาษากรีก แปลว่า ชีวิต) และวิทยา (logos ภาษากรีก แปลว่า ความคิดและเหตุผลในศาสตร์สาขาใดสาขาหนึ่ง) เนื่องจากสิ่งมีชีวิตมีอยู่เป็นจำนวนมาก และมีความหลากหลายทั้ง ชนิดและจำนวน มีการกระจายตัวอยู่ตามที่ต่างๆ ทั่วโลก ชีววิทยาจึงแยกออกเป็นสาขาวิชาย่อยได้หลายแขนง นักวิชาการบางคนจัดจำแนกสาขาวิชาย่อยๆ โดยยึดประเภทหรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิต จึงอาจแบ่งเป็นสัตววิทยา (zoology) พฤกษศาสตร์ (botany) จุลชีววิทยา (microbiology) ซึ่งในแต่ละแขนงก็อาจแยกราบละเอียดออกไปตามกลุ่มย่อยของสิ่งมีชีวิตอีก เช่น สัตววิทยา แยกเป็น กีฏวิทยา (entomology: ศึกษาแมลง) ปรสิตวิทยา (parasitology: ศึกษาปรสิต) เป็นต้น สรุป คือเป็นการศึกษาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมชีวิต แบ่งเป็นสาขา ได้แก่
1. การศึกษาสิ่งมีชีวิตและกลุ่มของสิ่งมีชีวิต
2. การศึกษาจากโครงสร้างหน้าที่และการทำงานของสิ่งมีชีวิต
3. การศึกษาเรื่องราวของสิ่งมีชีวิต
 1. การศึกษาสิ่งมีชีวิตและกลุ่มของสิ่งมีชีวิต
1) สัตววิทยา (zoology) เป็นการศึกษาเรื่องราวต่างๆ ของสัตว์ แบ่งเป็ยสาขาย่อยๆ เช่น
1. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง (invertebrate)
3. มีนวิทยา (icthyology) ศึกษาเกี่ยวกับปลาชนิดต่างๆ
2. สัตว์มีกระดูกสันหลัง (vertebrate
4. สังขวิทยา (malacology) ศึกษาเกี่ยวกับหอยชนิดต่างๆ
5. ปักษินวิทยา (ornithology) ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับนก
6. วิทยาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (mammalogy)
7. กีฏวิทยา (entomology) ศึกษาเกี่ยวกับแมลง
8. วิทยาเห็บไร (acarology) ศึกษาเกี่ยวกับเห็บไร
2) พฤกษศาสตร์ (Botany) ศึกษาเรื่องราวต่างๆ ของพืช เช่น
  1. พืชชั้นต่ำ (Lower plant) ศึกษาพวกสาหร่าย มอส
2. พืชมีท่อลำเลียง (Vascular plants) ศึกษาพวกเฟิน สน ปรง จนถึงพืชมีดอก
3. พืชมีดอก (Angiosperm) ศึกษาพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
 
 
3) จุลชีววิทยา (Microbiology) ศึกษาเรื่องราวต่างๆ ของจุลินทรีย์ เช่น
1. วิทยาแบคทีเรีย (Bacteriology) ศึกษาเกี่ยวกับแบคทีเรีย
2. วิทยาไวรัส (Virology) ศึกษาเกี่ยวกับไวรัส
3. วิทยาสัตว์เซลล์เดียว (Protozoology) ศึกษาเกี่ยวกับโพรโทซัว
4. ราวิทยา (mycology) ศึกษาเกี่ยวกับรา เห็ด ยีสต์
 
2. การศึกษาจากโครงสร้างหน้าที่และการทำงานของสิ่งมีชีวิต
1) กายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) ศึกษาโครงสร้างต่างๆ โดยการตัดผ่า
2) สัณฐานวิทยา (Morphology) ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างและรูปร่างของสิ่งมีชีวิต
3) สรีรวิทยา (Physiology) ศึกษาหน้าที่การทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายของสิ่งมีชีวิต
4) พันธุศาสตร์ (Gennetics) ศึกษาลักษณะต่างๆ ทางกรรมพันธุ์และการถ่ายทอดลักษณะต่างๆจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน
5) นิเวศวิทยา (Ecology) ศึกษาความสัมพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
6) มิญชวิทยาหรือเนื้อเยื่อวิทยา (Histology) ศึกษาลักษณะของเนื้อเยื่อทั้งทางด้านโครงสร้างและหน้าที่การทำงาน
7) วิทยาเอ็มบริโอ (Embryology) ศึกษาการเจริญเติบโตของตัวอ่อน
8) ปรสิตวิทยา (Parasitology) ศึกษาเกี่ยวกับการเป็นปรสิตของสิ่งมีชีวิต
9) วิทยาเซลล์ (Cytology) ศึกษาโครงสร้างหน้าที่ของเซลล์สิ่งมีชีวิต
 
3. การศึกษาเรื่องราวของสิ่งมีชีวิต
1) อนุกรมวิธาน (Taxonomy) ศึกษาเกี่ยวกับการแบ่งหมวดหมู่ การตั้งชื่อ สิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ
2) วิวัฒนาการ (Evolution) ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องราวของสิ่งมีชีวิตตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
3) บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) ศึกษาเกี่ยวกับซากโบราณของสิ่งมีชีวิต
         ในปัจจุบันการศึกษาทางชีววิทยาได้พัฒนาไปมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้กับสิ่งมีชีวิต เช่น การผลิตสารต่างๆ เช่น ผลิตกรดอะมีโน ผลิตฮอร์โมน อินซูลิน ผลิตเอนไซม์ การเลี้ยงเนื้อเยื่อ การผลิตก๊าซชีวภาพ การโคลนนิ่ง การตัดต่อจีน ซึ่งกระทำในพวกจุลินทรีย์ เพื่อประโยชน์ในทางอุสาหกรรมและการสาธารณสุข ซึ่งเรียกว่าพันธุวิศวกรรม ที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วโดยการศึกษาของนักจุลชีววิทยา นักเคมี และนักชีวเคมี
            ชีววิทยาในดำรงชีวิตของมนุษย์ เช่น การดูแลสุขภาพของร่างกายการป้องกันรักษาโรค การผลิตอาหาร การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การประกอบอาชีพ การเรียนรู้เกี่ยวกับร่างกายของคน การรู้จักพฤติกรรมของสัตว์ต่าง ๆ ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับชีวิวิทยาทั้งสิ้น นักวิชาการซึ่งเป็นผุ้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาได้ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต จึงทำให้ได้พันธุ์ของสิ่งมีชีวิตหรือผลผลิตตามความต้องการ เช่น พันธุ์พืชที่ต้านทานโรคและแมลงผลไม้ที่มีรสชาติอร่อย ผลที่มีขนาดใหญ่ สัตว์ที่เจริญเติบโตเร็ว ให้ผลิตภัณฑ์ในปริมาณมาก เช่น นม หรือไข่ ทำให้มนุษย์มีอาหารอย่างพอเพียงหรือเป็นสินค้าทำรายได้เป็นอย่างดี ถ้าได้ติดตามการทำงานตามโครงการพระราชดำริ โครงการส่วนพระองค์ หรือโครงการหลวง ทำให้ทราบว่า มีการขยายพันธุ์พืชที่ควรอนุรักษ์ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เช่น ขนุนไพศาลทักษิณและการปรับปรุงพันธุ์ เช่น เมล็ดถั่วแดงหลวดจากเมล็ดที่มีขนาดเล็กให้ได้เมล็ดที่มีขนาดใหญ่ขึ้น นักวิชาการทางด้านการเกษตร ได้พัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพต่าง ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์อีก เช่น การถ่ายฝากตัวอ่อนของสัตว์การผลิตปุ๋ยชีวภาพ การผสมเทียมปลา ฯลฯ การศึกษาวัฎจักรชีวิตและโครงสร้าง รูปร่างลักษณะและพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตช่วยให้สามารถเข้าใจการปรับตัวจากสิ่งมีชีวิตนำไปสู่การศึกษาวิจัยตัวยาที่นำใช้รักษาโรค และวิธีป้องกันโรคเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ทางการแพทย์ส่วนใหญ่ได้มาจากความรุ้ทางชีววิทยา การศึกษาในปัจจุบันก้าวหน้าจนสามารถตัดต่อยืนจากสิ่งมีชีวิต ในกระบวนการพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) ซึ่งนำมาใช้ทางการแพทย์ เช่น สามารถใช้ยีสต์ผลิตฮอร์โมนอินซูลินเพื่อรักษาโรคเบาหวาน สามารถใช้สุกรสร้างโกรทฮอร์โมน (GH : Growth hormone) เพื่อรักษาเด็กที่มีความสูงหรือต่ำกว่าปกติ และใช้ยีนบำบัด (gene therapy) ในการรักษาโรคทางพันธุกรรมบางชนิด เป็นต้น ความรู้จักการศึกษาคุณลักษณะของพืชชนิดต่าง ๆ โดยแพทย์แผนโบราณสามารถนำมาปรุงยาสมุนไพรใช้รักษาโรค นับเป็นภูมิปัญญาไทยที่น่าภาคภูมิใจ และปัจจุบันได้มีการศึกษาวิจัยผลิตภัณฑ์เหล่านี้ให้ได้มาตรฐานสากล การเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับร่างกายของเรา ทำให้เข้าใจการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ และเข้าใจวิธีการดูแลรักษาสุขภาพของตนและผู้ใกล้ชิด ความรู้ทางชีววิทยาอาจนำมาใช้ในการขยายพันธุ์สัตว์เศรษฐกิจและอนุรักษาสัตว์ที่หายาก เช่น การโคลน (cloning) สัตว์ชนิดต่าง ๆ
            ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ทำให้เราตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมวลมนุษยชาติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดชฯ ทรงค้นพบว่า หญ้าแฝกเป็นพืชที่มีรากยาวมาก แข็งแรงและหนาแน่น สามารถปลูกเพื่อช่วยป้องกันการกัดเซาะและการพังทลายของดินได้ดี จึงทรงแนะนำให้เผยแพร่แก่ประชานทั่วไป การขาดความรู้ทางด้านชีววิทยา เกี่ยวกับการดูแรักษาสิ่งแวดล้อมก็จะนำไปสู่ปัญหาสิ่งแวดล้อม มีผลเสียต่าง ๆ ดังเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นที่อำเภอวังชิ้นจังหวัดแพร่ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2544 ถ้าวิเคราะห์แล้วจะพบว่า สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากการตัดไม้ทำลายป่า นักอนุรักษ์จึงต้องช่วยกันรณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจถึงความสำคัญของป่า ซึ่งเป็นแหล่งของต้นน้ำลำธาร และแหล่งซับน้ำในดินถ้าเราไม่ช่วยกันควบคุมดูแลภัยต่าง ๆ ก็จะบังเกิดขึ้น
 
การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วย
1. การได้มาซึ่งอาหาร ได้แก่ สารประกอบต่างๆ ทังสารอนินทรีย์และสารอินทรีย์ที่นำเข้าสู่เซลล์หรือร่างกายของสิ่งมีชีวิต สารต่างๆ เหล่านี้จะเป็นวัตถุดิบ ที่ใช้ในการสร้างพลังงาน และการเจริญเติบโต เพื่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตต่อไป
2. การหายใจระดับเซลล์ เป็นวิธีการได้มาซึ่งพลังงานของสิ่งมีชีวิตโดยการสลายสารอินทรีย์โมเลกุลใหญ่ เช่น คาร์โบไฮเดรตให้เป็นกลูโคสและสลายต่อไปจนได้คาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ วิธีการดังกล่าวจะปลดปล่อยพลังงานออกมาโดยพลังงานส่วนหนึ่ง จะออกมาในรูปพลังงานความร้อน ทำให้ร่างกายอบอุ่น และพลังงานอีกส่วนหนึ่งจะสะสมไว้ในรูปของพลังงานเคมีที่เรียกว่า สารประกอบพลังงานสูง อะดีโนซีนไตรฟอสเฟต หรือ ATP ซึ่งจะนำไปใช้ในกระบวนการต่างๆ ของการดำรงชีวิตต่อไป
3. การสังเคราะห์ เป็นวิธีการในการสร้างสารต่างๆ โดยใช้วัตถุดิบจากสารอาหารและใช้พลังงานจากการหายใจระดับเซลล์มาสร้างสารโมเลกุลใหญ่ เช่น สังเคราะห์โปรตีนจากกรดอะมิโน สังเคราะห์ไขมันจากกรดไขมันและกลีเซอรอล สังเคราะห์ไกลโคเจนจากกลูโคส เป็นต้น สำหรับการสังเคราะห์ด้วยแสง เป็นการสังเคราะห์พิเศษที่เกิดขึ้นในพืช และสาหร่ายเท่านั้น โดยพืชสามารถใช้พลังงานจากแสงสว่างเปลี่ยนให้เป็นพลังงานเคมีในรูปของสารประกอบคาร์โบไฮเดรตและ ATP ได้
4. การสืบพันธุ์ เป็นการเพิ่มลูกหลานของสิ่งมีชีวิตซึ่งเป็นผลให้เกิดการดำรงเผ่าพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดเอาไว้
5. การปรับตัวและวิวัฒนาการ ผลจาการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อการอยู่รอด ทำให้เกิดการปรับตัวในด้านต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม เมื่อระยะเวลายาวนานมากๆ ก็ทำให้เกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ
ชีวจริยธรรม (bioethics) หมายถึงการปฏิบัติต่อสิ่งมีชีวิตอย่างมีคุณธรรม ไม่ทำร้าย หรือทำอันตรายต่อสัตว์หรือมนุษย์เพื่อการศึกษาหรือการวิจัย
1. การโคลนมนุษย์
โคลนนิ่ง (cloning) หรือการโคลน หมายถึงการคัดลอกหรือการทำซ้ำ (copy) ในทางชีววิทยา หมายถึง การสร้างสิ่งมีชีวิตใหม่ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนเดิมทุกประการ
ประโยชน์ของการโคลน ช่วยให้สร้างสัตว์ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมตามที่เราต้องการได้เป็นจำนวนมาก เช่น สัตว์ที่ให้น้ำนมมาก มีความต้านทานโรคสูง สัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์
ข้อเสียของการโคลนก็คือ สถิติความสำเร็จมีน้อยมาก ในการโคลนแกะดอลลี ใช้ไข่ถึง 277 เซลล์ แต่ประสบผลเพียง 1 เซลล์ คิดเป็นร้อยละ 0.4 แต่นักวิทยาศาสตร์และกลุ่มคนที่ชอบยังคงมีความหวัง บางกลุ่มสนใจที่จะให้โคลนมนุษย์ ซึ่งเป็นประเด็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมาก เพราะมนุษย์ที่เกิดจากการโคลนไม่มีพ่อและแม่ที่แท้จริง และอาจมีอุปนิสัยใจคอต่างไป แม้จะมีรูปร่างหน้าตาเหมือนกับบุคคลเจ้าของเซลล์ต้นกำเนิด อาจก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม แต่ในวงการแพทย์มีการวิจัยการโคลนเอ็มบริโอของคนโดยมีเป้าประสงค์เพื่อนำอวัยวะไปทดแทนผู้ป่วย เช่น ไต เป็นต้น แต่ก็เป็นการทำให้มนุษย์โคลนมีอวัยวะไม่ครบ บางประเทศจึงไม่สนับสนุน โดยเหตุนี้ทุกประเทศทั่วโลกจึงห้ามการโคลนมนุษย์ แต่บางประเทศได้ร่างกฎหมาย เกี่ยวกับชีวจริยศาสตร์เพื่อขออนุญาตให้ใช้ตัวอ่อนมนุษย์ในการทำวิจัย เช่น ฝรั่งเศส อังกฤษ จีน และญี่ปุ่น
2. การทำแท้ง
ตามหลักศาสนา ถือว่าการทำแท้งเป็นสิ่งไม่ดี ผิดศีลธรรม เป็นบาป แต่เมื่อไม่นานในสหรัฐอเมริกามีบางกลุ่มถือว่าการท้องเป็นเรื่องส่วนตัว และกล่าวว่าเด็กในครรภ์เป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะสตรี จึงมีสิทธิที่จะเลือกให้เด็กอยู่ในครรภ์หรือไม่ กลุ่มนี้เรียกว่า พวก pro-choice ส่วนกลุ่มตรงข้ามมีความเห็นว่าเด็กในครรภ์เป็นสิ่งมีชีวิตที่จะถือกำเนิดมาเป็นมนุษย์ การทำแท้งถือเป็นฆาตกรรมอย่างหนึ่ง ความเห็นของกลุ่มนี้เรียกว่า pro-life ในประเทศไทยมีการอนุมัติให้ขายยา RU 486 ที่ทำให้เกิดการแท้ง และมีกฎหมายอนุญาตให้ทำแท้งได้ 2 กรณี คือ
1. สุขภาพกาย สุขภาพจิตของหญิงผู้เป็นแม่ และสุขภาพของทารกในครรภ์ ไม่ดี เช่น ติดเชื้อ HIV เป็นโรคต่อมไร้ท่อ โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคธาลัสซีเมีย มีภาวะปัญญาอ่อน
2. การตั้งครรภ์เพราะถูกข่มขืน
3. สิ่งมีชีวิต GMOs
สิ่งมีชีวิต GMOs หรือสิ่งมีชีวิตตัดแต่งพันธุกรรม GMOs ย่อมาจากคำว่า genetically modified organisms หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่มีการตัดและต่อยีนด้วยเทคนิคพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) ทำให้มีลักษณะพันธุกรรมตามที่ต้องการ มีประโยชน์ ดังเช่น
1. สารที่ผลิตโดยจุลินทรีย์แปลงพันธุ์ มีหลายชนิดมีประโยชน์ เช่น ช่วยขยายหลอดเลือด ฟื้นฟูกระดูกภายหลัง การปลูกถ่ายไขกระดูก ลดน้ำหนองในปอดของคนไข้ กระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อที่เกิดจากบาดแผลไฟไหม้ กระตุ้นการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง ช่วยแก้ความเป็นหมัน ช่วยในการดูดซึมกลูโคส ฯลฯ
2. สารที่ผลิตโดยพืชแปลงพันธุ์ มีหลายชนิด เช่น แครอท ทำให้เนื้อเหนียวขึ้น มะเขือเทศ ช่วยควบคุมการสุก ของผล มะละกอมีความทนทานต่อไวรัสโรคใบด่าง ผักกาดหอมต้านทานต่อโรค ทานตะวันทำให้เมล็ดมีโปรตีนเพิ่มขึ้น ข้าวโพดทนทานต่อยาปราบวัชพืช ฯลฯ
3. สารที่ผลิตโดยสัตว์แปลงพันธุ์ มีหลายชนิด เช่น วัวผลิต GH ฮอร์โมนช่วยเพิ่มผลผลิตน้ำนม หนูผลิต GH ของคนช่วยเพิ่มความสูงของคนเตี้ยแคระ กระต่ายผลิตสาร EPO กระตุ้นการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงสำหรับคนป่วยโรคโลหิตจางเนื่องจากไตวาย เป็นต้น
อันตรายจากอาหารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (GE foods หรือ GM foods) แม้จะยังไม่มีข้อมูลรายงานชัดเจน แต่ก็ก่อให้เกิดความหวั่นวิตก และเกรงจะเกิดภัยอันตรายแก่มนุษย์
แม้ว่าศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้พยายามชี้แจงว่าผลิตภัณฑ์ GMO ยังไม่เกิดอันตรายอย่างเด่นชัด แต่เราในฐานะผู้บริโภคควรระวังตนไว้ก่อน สิ่งใดมีคุณอนันต์ก็อาจก่อให้เกิดผลเสียอย่างมหันต์ได้ ถ้าไม่จำเป็นก็ควรหลีกเลี่ยงการบริโภค หรือถ้าบริโภคก็ไม่ควรบริโภคอย่างต่อเนื่อง
4. ทัวร์อวสานชีวิต/กรุณพิฆาต
ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีบริการให้ผู้ป่วยที่ไม่ปรารถนาจะมีชีวิตอยู่ไปได้จบชีวิตลงอย่างสงบ ดำเนินการโดยมูลนิธิการกุศลแห่งหนึ่ง เป็นการกระทำที่ถูกต้องตามกฎหมาย มีทั้งชาวสวิตและชาวต่างชาติเดินทางมาใช้บริการไปแล้วประมาณ 150 ราย กรณีนี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับสำหรับประเทศอื่น ๆ ถือเป็นปัญหาชีวจริยธรรมที่ต้องพิจารณากันอย่างรอบคอบ
5. การใช้สัตว์ทดลองทางชีววิทยา
เพราะสัตว์ก็มีชีวิตเช่นเดียวกับมนุษย์ ดั้งนั้นการทดลอง ต้องไม่ทรมานสัตว์ และใช้สัตว์ให้น้อนที่สุด และได้ผลความรู้มากที่สุด และต้องไม่ผิดกฎหมายด้วย
6. การผลิตอาวุธชีวภาพ
เช่น การนำเชื้อโรคใส่ในซองจดหมาย แล้วส่งไปในที่ต่างๆ ทางไปษณ๊ย์ การปล่อยเชื้อโรคในที่สาธารณะ การผลิตระะเบิดติดหัวรบที่มีเชื้อโรค ซึ่งเรียกว่า อาวุธเชื้อโรค หรืออาวุธชีวภาพ ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมาก สิ่งเหล่านี้ถือว่าผิดทางด้านชีวจริยธรรมทั้งสิ้นและเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงและตระหนักอยู่เสมอ อันจะเป็นผลให้โลกของเราเกิดสภาพไม่สงบสุขได้
 










 

ชีววิทยา ม.4 ( บทที่ 1 )

ชีววิทยา ม.4(บทที่1)
 
 
บทที่ 1 ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
            ชีววิทยา คือ การศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต รากศัพท์ของคำนี้มาจากภาษากรีก คือ ไบออส (bios) ซึ่งหมายถึงสิ่งมีชีวิต และโลกอส (logos) ที่หมายถึง ความคิดและเหตุผลการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตสามารถศึกษาได้หลายระดับ ตั้งแต่ระดับใหญ่ เช่น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประชากรสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม การศึกษาความสัมพันธ์์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกลุ่มต่างๆ การศึกษาลักษณะรูปร่าง การดำรงชีวิตและการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต สำหรับการศึกษาในระดับย่อยลงมา เช่น การศึกษาองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ อวัยวะ เนื้อเยื่อ และเซลล์ ในด้านโครงสร้างและหน้าที่การทำงาน
            นอกจากนี้ชีววิทยายังครอบคลุมถึงการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตในระดับโมเลกุล อะตอมที่เป็นองค์ประกอบทางเคมีของเซลล์ เช่น โมเลกุลดีเอ็นเอ (DNA) อาร์เอ็นเอ (RNA) โมเลกุลของสารอินทรีย์และอะตอมของธาตุต่างๆที่พบในสิ่งมีชีวิต รวมถึง การศึกษาเรื่องปฏิกิริยาเคมี และพลังงานที่เกิดขึ้นในร่างกายสิ่งมีชีวิตอีกด้วย จะเห็นได้ว่า ชีววิทยานั้นเกี่ยวข้องกับความรู้ต่างๆหลายสาขา ทั้งทางด้านเคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ ที่สามารถประยุกต์นำมาใช้อธิบายหรือจำลองความเป็นไปของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายเพื่อตอบปัญหาต่างๆที่มนุษย์สงสัยเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตได้
 
คุณสมบัติของสิ่งมีชีวิต
ความแตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตนั้นมีหลายประการ ในการศึกษาทางด้านชีววิทยามีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องสามารถแยกให้ได้ว่าสิ่งใดคือสิ่งมีชีวิตและสิ่งใดคือสิ่งไม่มีชีวิตเสียก่อน จึงสามารถศึกษาในขั้นต่อไปได้อย่างถูกต้อง ซึ่งลักษณะที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต ได้แก่
 
1. มีโครงสร้างและการทำหน้าที่อย่างเป็นระบบ (organization)ในสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตชั้นสูงจะมีการทำงานประสานกันตั้งแต่ระดับหน่วยย่อยภายในเซลล์ (organelle) กลุ่มเซลล์ (tissue) และอวัยวะ (organ) ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
2. มีการรักษาสมดุลภายในร่างกาย (homeostasis)การรักษาสมดุลภายในร่างกาย เช่น ระดับอุณหภูมิ ค่าความเป็นกรด-เบส (pH) และความเข้มข้นของสารต่างๆให้อยู่ในจุดที่ไม่เป็นอันตราย ต่อเซลล์
3. มีการปรับตัว (adaptation)สิ่งมีชีวิตพยายามปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ เช่น การเปลี่ยนสีของผิวหนังในสัตว์เลื้อยคลาน เพื่ออำพรางศัตรู การที่ปลามีรูปร่างเพรียวไม่ต้านกระแสน้ำ การลดรูปของใบจนมีลักษณะคล้ายเข็มในต้นกระบองเพ็ดเพื่อลดการสูญเสียน้ำเพราะเจริญอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นทะเลทราย การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตเป็นไปก็เพื่อให้้สามารถอยู่รอดในสิ่งแวดล้อมที่มันอาศัยอยู่และสามารถสืบทอดลูกหลานต่อไปได้นั่นเอง
4. มีการสืบพันธุ์และถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม (reproduction and heredity)สิ่งมีชีวิตต้องสามารถสืบพันธุ์ได้ เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ไว้ไม่ให้สูญสิ้นไป โดยอาจอาศัยวิธีีสืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ (sexual reproduction) หรือไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองวิธีก็ได้ เมื่อมีการสืบพันธุ์ สิ่งมีชีวิตจะถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมไปยังลูกหลานโดยอาศัยสารพันธุกรรมซึ่งได้แก่ ดีเอ็นเอ และอาร์เอ็นเอ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นตัวเก็บรหัสทางพันธุกรรมของรุ่นพ่อ-แม่ไว้นั่นเอง
5. มีการเจริญเติบโตและพัฒนารูปร่าง (growth and development)ในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว หลังจากมีการสืบพันธุ์ให้ลูกหลานแล้ว เซลล์ลูกเริ่มแรกจะมีขนาดเล็กหลังจากได้รับสารอาหารจะมีการเจริญเติบโตขยายขนาดใหญ่ขึ้นและพัฒนาจนเป็นเซลล์ที่พร้อมจะสืบพันธุ์ได้ (mature cell) ในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์จะมีกระบวนการเจริญเติบโตและพัฒนาที่ซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งประกอบด้วย กระบวนการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์ (cell differentiation) เพื่อให้เหมาะกับการทำหน้าที่แต่ละอย่าง เช่น การเปลี่ยนแปลงรูปร่างเซลล์ต้นกำเนิดของเซลล์กล้ามเนื้อเพื่อให้เหมาะสมกับการทำหน้าที่เคลื่อนไหวของร่างกาย เป็นต้น
 
6. ต้องการพลังงาน (energy) และสร้างพลังงานสิ่งมีชีวิตต้องการพลังงานเพื่อนำมาสร้างสาร ATP (adenosine triphosphate) โดยผ่านกระบวนการเมแทบอลิซึม (metabolism) ATP เป็นสารที่ใช้ในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆภายในร่างกายสิ่งมีชีวิต เช่น การสืบพันธุ์ การเจริญเติบโต การเคลื่อนไหว ฯลฯ พลังงานที่สิ่งมีชีวิตต้องการดังกล่าวอาจได้มาจากแหล่งต่างๆ เช่น พืช ได้พลังงานจากแสงอาทิตย์ สัตว์ได้พลังงานจากปฏิกิริยาเคมีของสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ ไวรัส ได้พลังงานจากสิ่งมีชีวิตอื่น
7. มีการรับรู้ต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้น (sensitivity)สิ่งมีชีวิตสามารถรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่ในลักษณะต่างๆ กัน เช่น การเจริญเข้าหาแสงของต้นพืช การเจริญเติบโตช้าลงของจุลินทรีย์เมื่ออยู่ในที่อุณหภูมิิต่ำ 4 องศาเซลเซียส การเคลื่อนที่เข้าหาสารอาหารของพารามีเซียมเป็นต้น
8. มีปฏิสัมพันธ์ (interaction) กับสิ่งแวดล้อมสิ่งมีชีวิตมีลักษณะเป็นระบบเปิด (open system) ซึ่งสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมได้ตลอดเวลาโดยมีการรับพลังงาน สารอาหารเข้าสู่ร่างกาย และขับถ่ายของเสียออกสู่สิ่งแวดล้อมรวมทั้งมีความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตอื่นในรูปแบบต่างๆ เช่น การอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัย (symbiosis) การเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน (antagonism) และการเบียดเบียนสิ่งมีชีวิตอื่น (parasitism) เป็นต้น
 
ชีวจริยธรรม
 
ชีวจริยธรรม (bioethics) หมายถึงการปฏิบัติต่อสิ่งมีชีวิตอย่างมีคุณธรรม ไม่ทำร้าย หรือทำอันตรายต่อสัตว์หรือมนุษย์เพื่อการศึกษาหรือการวิจัย
จรรยาบรรณในการใช้สัตว์ทดลอง สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ ได้กำหนดจรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานวิจัย งานสอน งานทดสอบ และงานผลิตชีววัตถุไว้ดังนี้
1. ผู้ใช้สัตว์ต้องตระหนักถึงคุณค่าของชีวิตสัตว์
2. ผู้ใช้สัตว์ต้องตระหนักถึงความแม่นยำของผลงานโดยใช้สัตว์จำนวนน้อยที่สุด
3. การใช้สัตว์ป่าต้องไม่ขัดต่อกฎหมายและนโยบายการอนุรักษ์ป่า
4. ผู้ใช้สัตว์ต้องตระหนักว่าสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตเช่นเดียวกับมนุษย์
5. ผู้ใช้สัตว์ต้องบันทึกการปฏิบัติต่อสัตว์ไว้เป็นหลักฐานอย่างครบถ้วน
                การกำกับดูแลให้ผู้ใช้สัตว์ปฏิบัติตามจรรยาบรรณการใช้สัตว์ ทั้งระดับองค์กร และระดับชาติ ต้องจัดให้มีคณะกรรมการกำกับติดตามดูแลรับผิดชอบ เช่น ในระดับชาติได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ และกองบรรณาธิการของวารสารที่ตีพิมพ์ผลงานวิจัย
 
การโคลน
 
              โคลนนิ่ง (cloning) หรือการโคลน หมายถึงการคัดลอกหรือการทำซ้ำ (copy) ในทางชีววิทยาหมายถึง การสร้างสิ่งมีชีวิตใหม่ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนเดิมทุกประการ ประโยชน์ของการโคลน ช่วยให้สร้างสัตว์ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมตามที่เราต้องการได้เป็นจำนวนมาก เช่น สัตว์ที่ให้น้ำนมมาก มีความต้านทานโรคสูง สัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ข้อเสียของการโคลนก็คือ สถิติความสำเร็จมีน้อยมาก ในการโคลนแกะดอลลี ใช้ไข่ถึง 277 เซลล์ แต่ประสบผลเพียง 1 เซลล์ คิดเป็นร้อยละ 0.4 แต่นักวิทยาศาสตร์และกลุ่มคนที่ชอบยังคงมีความหวัง บางกลุ่มสนใจที่จะให้โคลนมนุษย์ ซึ่งเป็นประเด็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมาก เพราะมนุษย์ที่เกิดจากการโคลนไม่มีพ่อและแม่ที่แท้จริง และอาจมีอุปนิสัยใจคอต่างไป แม้จะมีรูปร่างหน้าตาเหมือนกับบุคคลเจ้าของเซลล์ต้นกำเนิด อาจก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม แต่ในวงการแพทย์มีการวิจัยการโคลนเอ็มบริโอของคนโดยมีเป้าประสงค์เพื่อนำอวัยวะไปทดแทนผู้ป่วย เช่น ไต เป็นต้น แต่ก็เป็นการทำให้มนุษย์โคลนมีอวัยวะไม่ครบ บางประเทศจึงไม่สนับสนุน โดยเหตุนี้ทุกประเทศทั่วโลกจึงห้ามการโคลนมนุษย์ แต่บางประเทศได้ร่างกฎหมายเกี่ยวกับชีวจริยศาสตร์เพื่อขออนุญาตให้ใช้ตัวอ่อนมนุษย์ในการทำวิจัย เช่น ฝรั่งเศส อังกฤษ จีน และญี่ปุ่น
 
อ้างอิงจาก  :  https://sites.google.com/...4/bth-thi-1-thrrmchati-khxng-sing-mi-chiwit